คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
ไม่แน่ใจว่าเพราะเรื่องนี้ไม่มีตีพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือเปล่าค่ะ เพราะเมื่อโพย 50 อันดับหนังสือการ์ตูนยอดขายสูงสุดในญี่ปุ่นประจำปี 2008 ของ Origon ออกมา ปรากฏว่ามีเรื่องหนึ่งที่ขนาดชื่อยังไม่เคยได้ยิน นั่นคือ Ookiku Furikabutte หรือชื่อภาษาอังกฤษ Big Windup! การ์ตูนเบสบอลซึ่งยอดขายเฉพาะสองฉบับนี้ในปี 2008 สูงถึงเกือบหนึ่งล้านเล่ม!
เมื่อค้นหาข้อมูลลึกขึ้นอีกหน่อย จึงทราบว่า Big Windup! เป็นการ์ตูนที่ได้รับ "ทั้งเงินและกล่อง" คือนอกจากยอดขายสูงถล่มทลาย ยังได้รับเสียงชื่นชมในทางบวกอย่างล้นหลาม บทพิสูจน์คุณค่าคือ Big Windup! ได้รับรางวัลกรังปรี Kodansha Manga Award ประจำปี 2007 ก่อนหน้านั้นในงาน Japan Media Arts Festival ช่วงต้นปี 2007 การ์ตูนเบสบอลเรื่องนี้ได้รับการจัดอันดับอยู่ในหนังสือการ์ตูน 25 เรื่องที่ดีที่สุด นอกจากนั้นในปี 2006 ยังได้รับรางวัล "การ์ตูนดาวรุ่งยอดเยี่ยม" จาก Tezuka Osamu Culture Awards ครั้งที่ 10 เนื่องจากหลังวางจำหน่าย 7 ฉบับก็สามารถกวาดยอดขายได้มากกว่า 2.5 ล้านเล่ม หอบรางวัลมาขนาดนี้แต่กลับไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในไทยได้อย่างไรกัน มาทำความรู้จักกันตอนนี้เลยดีกว่าค่ะ
Ookiku Furikabutte ดั้งเดิมเป็นหนังสือการ์ตูนประพันธ์โดย Asa Higuchi เริ่มวางแผงตั้งแต่ปี 2003 จนถึงปัจจุบันด้วยจำนวน 11 เล่มยังไม่จบ ต่อมาในปี 2007 ได้รับการสร้างเป็นแอนิเมชั่นสำหรับฉายทางโทรทัศน์จำนวน 25 ตอนกับ DVD อีก 1 ตอน แต่เพิ่งจัดทำเป็นภาษาอังกฤษเมื่อกลางปี 2008 โดยใช้ชื่อว่า Big Windup! "อาสะ ฮิกุจิ "ใช้เวลารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเบสบอลมัธยมปลายกว่า 10 ปีก่อนเขียนเรื่องนี้ และก่อนตีพิมพ์ เธอก็เข้าไปทำงานกับชมรมเบสบอลอยู่กว่าปีเลยค่ะ ก่อนที่เธอจะกลายมาเป็นนักเขียนที่สร้างแรงบันดาลใจให้เด็กๆ เธอเองก็ได้รับแรงบันดาลใจจาก Dokaben การ์ตูนเบสบอลซึ่งตีพิมพ์ในปี 1972 เช่นกัน เธอจึงเป็นหนึ่งในดอกผลของการ์ตูนที่เคยสร้างคนเมื่อกว่า 30 ปีก่อนนั่นเองจากการอดตาหลับขับตานอนดูจนจบในหนึ่งวัน ผลสรุปคือ Big Windup! เป็น "หนึ่งในการ์ตูนเบสบอลมัธยมปลายที่ดีที่สุดตลอดกาล" อย่างไม่ต้องสงสัยเลยค่ะ
โรงเรียนมัธยมปลายนิชิอุระคือโรงเรียนแห่งใหม่ที่ "มิฮาชิ เรน" เด็กหนุ่มขี้อายย้ายเข้ามาและสถานที่แรกที่เขาตรงไปคือ "ชมรมเบสบอล" ซึ่งเพิ่งเปิดชมรมเป็นปีแรกในโรงเรียนแห่งนี้ สมาชิกทุกคนจึงเป็นเด็กมัธยมปลายปี 1 ล้วนๆ เขาสมัครเป็นสมาชิกในตำแหน่ง "พิชเชอร์" หรือผู้ขว้างลูกซึ่งเป็นตำแหน่งที่สำคัญและโดดเด่นมากในทีม (อย่างน้อยก็ในการ์ตูนเบสบอลส่วนใหญ่ที่พระเอกต้องเป็นพิชเชอร์) สมาชิกทุกคนตื่นเต้นและดีใจเมื่อทราบว่ามิฮาชิเคยเป็น "เอซ" หรือมือหนึ่งของทีมจากโรงเรียนเก่า แต่เมื่อเขาลองขว้างลูกให้ทุกคนในทีมดู เหตุผลที่ทำให้เขาย้ายโรงเรียนและหนีความกลัวมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่โรงเรียนแห่งนี้ก็ปรากฏ
นั่นคือบุคลิกค่ะ มิฮาชิเป็นเด็กหนุ่มขี้อายที่ไม่กล้าแม้แต่จะสบตาคู่สนทนา อารมณ์อ่อนไหวและมักโทษตัวเองเสมอ เพียงแค่ความผิดหวังเล็กน้อยเขาก็สามารถร้องไห้เป็นเผาเต่าได้และสิ่งที่เขาขาดมากที่สุดคือ "ความมั่นใจ" ซึ่งถูกทำลายป่นปี้จากชมรมเบสบอลโรงเรียนเก่าเพราะเกือบทุกคนรังเกียจเขาและคิดว่าเขาได้เป็นเอซของทีมทั้งที่ขว้างลูกได้ช้ามากเพราะมิฮาชิเป็นหลานเจ้าของโรงเรียน
"อาเบะ ทาคายะ" ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง "แคชเชอร์" หรือคนรับลูกมองเห็นความสามารถของมิฮาชิอย่างคาดไม่ถึง แม้มิฮาชิขว้างลูกช้ากว่ามาตรฐานนักเบสบอลมัธยมปลายทั่วไป แต่สามารถควบคุมทิศทางและใช้ลูกเทคนิคเลี้ยวไปมาอย่างพิสดารได้หลากหลาย อาเบะมีความเชื่อว่าการ "ขว้างเร็ว" เกิดจากพรสวรรค์ ส่วนการ "ขว้างเทคนิค" เกิดจากการฝึกฝนอย่างหนัก ดังนั้นมิฮาชิคือพิชเชอร์ที่ไม่มีพรสวรรค์แต่เก่งขึ้นได้ด้วยความพยายาม เพียงแต่บุคลิกที่สื่อสารด้วยคำพูดได้ลำบากและความมั่นใจติดลบทำให้ทุกคนตีความว่าเขาคือพิชเชอร์ที่แย่ที่สุด
ความน่าทึ่งของ Ookiku Furikabutte อยู่ที่การนำเสนอเบสบอลมัธยมปลายด้วยภาพที่ธรรมดาที่สุด ไม่มีฮีโร่ออกมาโชว์เทพให้เด็กๆ หลงใหลและใฝ่ฝันอยากเป็นนักเบสบอลดังเช่นสมัยเรื่องกัปตันสึบาสะสร้างแรงบันดาลใจให้นักฟุตบอลทีมชาติญี่ปุ่นมากกว่าครึ่งทีมมาแล้ว ไม่มีความสัมพันธ์ของเหล่าเพื่อนและชีวิตวัยรุ่นที่ทำให้ซาบซึ้งและยิ้มได้ทั้งน้ำตา เกือบทั้งหมดคือเรื่องของ "เบสบอลล้วนๆ" และเป็นตำราเล่มใหญ่ที่พ่อแม่สามารถยื่นให้ลูกดูแล้วบอกว่า "ถ้าอยากเป็นนักเบสบอลมัธยมปลายก็เรียนรู้จากเรื่องนี้" ได้เลยค่ะ
การ์ตูนที่เป็นพันธมิตรของทั้งนักอ่าน ผู้ปกครอง สำนักพิมพ์ และกระทรวงวัฒนธรรมมีเนื้อหาในรายละเอียดอย่างไร และทำไมเรื่องนี้จึงสร้างคนได้ สัปดาห์หน้ามาต่อค่ะ
วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11271 มติชนรายวัน
17 มกราคม 2552
10 มกราคม 2552
Cobra The Animation 30 ปีแห่งความคลาสสิคพร้อมเครื่องหมาย 18+
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
เป็นการกลับมาที่ตื่นตาตื่นใจเหลือเกินค่ะ สำหรับนักอ่านการ์ตูนที่อายุเกิน 30 ปี รับรองว่าไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ "คอบร้า เห่าไฟสายฟ้า" และปืนพลังจิตไซโคกันที่มือซ้ายของเขา นอกเหนือจากการเป็นสลัดอวกาศฝีมือเยี่ยมแล้ว ความเจ้าชู้ประตูดินและรูปหล่อขี้เล่นของคอบร้ายังเป็นที่กล่าวขานจนกลายเป็นตำนานสายลับนักรักแห่งยุคเรืองรองของการ์ตูนไซไฟ และปี 2008 ก็ครบรอบ 30 ปีของคอบร้าฉบับหนังสือการ์ตูนซึ่งเขียนโดยบูอิจิ เทราซาว่าเมื่อปี 1978 โปรเจกต์ย้อนยุคของคอบร้าจึงยิ่งใหญ่และไม่ผิดหวังจริงๆ ค่ะ
โปรเจ็คต์ Cobra The Animation ฉลอง 30 ปีมีการแถลงข่าวเป็นระยะตั้งแต่ต้นปี 2008 โดยแรกสุดมีข่าวว่าฮอลลีวู้ดจะนำคอบร้าไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยไม่อิงเนื้อเรื่องเดิม ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ดำเนินการไปถึงขั้นใดแล้ว แต่ระหว่างรอก็มีแอนิเมชั่นปล่อยออกมาให้แฟนๆ หายคิดถึงค่ะ เริ่มต้นจาก The Psycho Gun ซึ่งจะเป็นแอนิเมชันชุดแรกสุดของเทศกาลนี้ ประกอบด้วย OAV (Original Animation Video คือจำหน่ายตามร้านโดยไม่ฉายทางโทรทัศน์) จำนวน 4 ตอน วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 29 เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและมีกำหนดออกจำหน่ายเดือนเว้นเดือนจนกว่าจะครบ เปิดตัวครั้งแรก 28 ส.ค.51 ก็ทำยอดขายติดอันดับ 10 ในท็อปเท็นชาร์ต DVD การ์ตูนในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว นับว่ากระแสแรงใช้ได้ โปรเจ็คต์วิดีโอต่อมาคือ Time Drive และปิดท้ายด้วยแอนิเมชั่น 13 ตอนจบฉายทางโทรทัศน์ Rokunin no Yoshi (The Six Heroes) ซึ่งจะเริ่มฉายในฤดูใบไม้ผลิปี 2009 นอกจากนั้นเมื่อกลางปีที่ผ่านมาทางค่าย Urban Vision ก็ปล่อยคอบร้าดั้งเดิมฉบับจัดทำเมื่อปี 1982 ออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือเพื่อสร้างกระแสไปแล้วค่ะ
ย้อนกลับมาที่ The Psycho Gun ซึ่งเพิ่งได้ดูไปแค่ 2 ตอนแต่ก็น่าประทับใจอย่างเหลือเชื่อ งานนี้ต้องยกนิ้วให้ผู้กำกับโอซามุ เดซากิ ซึ่งเคยกำกับคอบร้าฉบับดั้งเดิมมาก่อนและผ่านงานย้อนยุคอย่าง Golgo13 หรือ Black Jack มาแล้ว ในอดีตเขายังกำกับแอนิเมชันคลาสสิคอย่างกุหลาบแวร์ซายส์และบรรดาการ์ตูนที่ถือเป็นตัวแทนของยุค 70s ยุคทองของการ์ตูนมากมาย ผลงานของเขาจึงกรุ่นด้วยกลิ่นเรโทรที่ทรงคุณค่าสำหรับแฟนการ์ตูนยุคโบราณค่ะ (ยิ่งพูดก็ยิ่งรู้สึกว่าเราแก่จริงๆ)
เรื่องเริ่มขึ้นจาก Gipsy Doc วายร้ายแห่งอวกาศบุกเข้าไปในพิพิธภัณฑ์และตามล่าตัวโปรเฟสเซอร์ยูโทเปีย มอร์ สาวงามผู้กำลังวิจัยความลับของกำเนิดโลกผ่านทางฟอสซิลแอมโมไนท์ยุคดึกดำบรรพ์ แต่โชคดีที่คอบบร้าผ่านไปขโมยอัญมณีแถวนั้นพอดี จึงช่วยโปรเฟสเซอร์สาวงามออกมาโดยไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรด้วยเลย เห็นคนสวยก็ต้องช่วยไว้ก่อน...นั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่รู้สึกว่าวายร้ายที่บุกไปหาโปรเฟสเซอร์จะเป็นโจทก์เก่าของคอบร้าเสียด้วยค่ะ คุ้นๆ ว่าจะอยู่ในกลุ่มโจรสลัดกิลด์ แต่ก็นานจนจำแทบไม่ได้แล้วค่ะ
"เลดี้ อาร์มารอยด์" แอนดรอยส์สาวสหายคู่ใจของคอบบร้าสะกิดใจกับความสำคัญของหอยทากโบราณว่าเหตุใดจึงเป็นที่ต้องการมากขนาดนั้น ทั้งคู่จึงติดตามโปรเฟสเซอร์ยูโทเปียไปยังดาวอังคารและเข้าร่วมปฏิบัติการตามหาหอยทากโบราณเพื่อค้นหาความลับนี้ค่ะ ที่นั่นเอง ศัตรูสุดคลาสสิคตลอดการของคอบร้าก็ปรากฏตัวขึ้น เขาคือ "คริสตัล บอย" ชายหนุ่มที่มีโครงกระดูกทองคำและผิวกายเป็นคริสตัล เห็นปุ๊บทราบทันทีค่ะว่าพลังในการออกแบบของบุอิจิ เทราซาว่าถือเป็นระดับเกจิในวงการการ์ตูนไซไฟของญี่ปุ่นแน่นอน ไม่แน่ใจว่าคริสตัล บอยมาปฏิบัติการล่าหอยทากด้วยหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ คือทั้งคอบร้าและโปรเฟสเซอร์ยูโทเปียก็ต้องหนีกันอีกรอบ
เป็นผลงานที่ชวนให้ระลึกถึงมากเลยค่ะ ความสามารถของคอมพิวเตอร์กราฟิค 3D ทำให้เมื่อ 30 ปีผ่านไป ผลงานชิ้นนี้ได้ถูกสร้างให้ดีใกล้เคียงกับจินตนาการเข้าไปทุกขณะ แต่สาเหตุที่ควรห้อยป้าย 18+ ไว้เพื่อป้องกันเด็กเล็กๆ เข้ามาดูเนื่องจากสาวงามในเรื่องนี้แต่งกายด้วยชุดที่เหมือนใช้ผ้าจากผ้าเช็ดหน้าผืนเดียวมาตัดค่ะ แฮ่ม...ที่จริงก็ดูเจริญตาเจริญใจกับก้นและหน้าอกงามๆ หรอกนะคะ แต่เยาวชนไม่ต้องรีบสร้างจินตนาการจากแรงดึงดูดทางเพศเหล่านี้นักก็ได้
Cobra คืองาน Sexy sci-fi ที่จงใจขายหนุ่มใหญ่นะคะ กลุ่มสิทธิสตรีดูแล้วคงของขึ้นเนื่องจากผู้หญิงในเรื่องถูกใช้เป็น material หรือวัสดุอุปกรณ์เสียมากกว่า สิ่งที่ทำให้ผู้ชายสยบได้คือความสวยและมีเสน่ห์ ในระหว่างผู้หญิงที่ดีและได้รับยกย่อยจากความสามารถอย่างแท้จริงกลับกลายเป็นแอนดรอยด์อย่างเลดี้ซึ่งไม่ใช่มนุษย์
อย่างไรก็ตาม Cobra คือผลงานของยุคสมัยที่อยู่เหนือกาลเวลาและเป็นแรงบันดาลใจให้ชนรุ่นหลังสร้างงานที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ขึ้นมาเพื่อเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งเช่นกันค่ะ
วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11264 มติชนรายวัน
โดย วินิทรา นวลละออง
เป็นการกลับมาที่ตื่นตาตื่นใจเหลือเกินค่ะ สำหรับนักอ่านการ์ตูนที่อายุเกิน 30 ปี รับรองว่าไม่มีใครไม่รู้จักชื่อ "คอบร้า เห่าไฟสายฟ้า" และปืนพลังจิตไซโคกันที่มือซ้ายของเขา นอกเหนือจากการเป็นสลัดอวกาศฝีมือเยี่ยมแล้ว ความเจ้าชู้ประตูดินและรูปหล่อขี้เล่นของคอบร้ายังเป็นที่กล่าวขานจนกลายเป็นตำนานสายลับนักรักแห่งยุคเรืองรองของการ์ตูนไซไฟ และปี 2008 ก็ครบรอบ 30 ปีของคอบร้าฉบับหนังสือการ์ตูนซึ่งเขียนโดยบูอิจิ เทราซาว่าเมื่อปี 1978 โปรเจกต์ย้อนยุคของคอบร้าจึงยิ่งใหญ่และไม่ผิดหวังจริงๆ ค่ะ
โปรเจ็คต์ Cobra The Animation ฉลอง 30 ปีมีการแถลงข่าวเป็นระยะตั้งแต่ต้นปี 2008 โดยแรกสุดมีข่าวว่าฮอลลีวู้ดจะนำคอบร้าไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยไม่อิงเนื้อเรื่องเดิม ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้ดำเนินการไปถึงขั้นใดแล้ว แต่ระหว่างรอก็มีแอนิเมชั่นปล่อยออกมาให้แฟนๆ หายคิดถึงค่ะ เริ่มต้นจาก The Psycho Gun ซึ่งจะเป็นแอนิเมชันชุดแรกสุดของเทศกาลนี้ ประกอบด้วย OAV (Original Animation Video คือจำหน่ายตามร้านโดยไม่ฉายทางโทรทัศน์) จำนวน 4 ตอน วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 29 เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาและมีกำหนดออกจำหน่ายเดือนเว้นเดือนจนกว่าจะครบ เปิดตัวครั้งแรก 28 ส.ค.51 ก็ทำยอดขายติดอันดับ 10 ในท็อปเท็นชาร์ต DVD การ์ตูนในญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว นับว่ากระแสแรงใช้ได้ โปรเจ็คต์วิดีโอต่อมาคือ Time Drive และปิดท้ายด้วยแอนิเมชั่น 13 ตอนจบฉายทางโทรทัศน์ Rokunin no Yoshi (The Six Heroes) ซึ่งจะเริ่มฉายในฤดูใบไม้ผลิปี 2009 นอกจากนั้นเมื่อกลางปีที่ผ่านมาทางค่าย Urban Vision ก็ปล่อยคอบร้าดั้งเดิมฉบับจัดทำเมื่อปี 1982 ออกจำหน่ายในอเมริกาเหนือเพื่อสร้างกระแสไปแล้วค่ะ
ย้อนกลับมาที่ The Psycho Gun ซึ่งเพิ่งได้ดูไปแค่ 2 ตอนแต่ก็น่าประทับใจอย่างเหลือเชื่อ งานนี้ต้องยกนิ้วให้ผู้กำกับโอซามุ เดซากิ ซึ่งเคยกำกับคอบร้าฉบับดั้งเดิมมาก่อนและผ่านงานย้อนยุคอย่าง Golgo13 หรือ Black Jack มาแล้ว ในอดีตเขายังกำกับแอนิเมชันคลาสสิคอย่างกุหลาบแวร์ซายส์และบรรดาการ์ตูนที่ถือเป็นตัวแทนของยุค 70s ยุคทองของการ์ตูนมากมาย ผลงานของเขาจึงกรุ่นด้วยกลิ่นเรโทรที่ทรงคุณค่าสำหรับแฟนการ์ตูนยุคโบราณค่ะ (ยิ่งพูดก็ยิ่งรู้สึกว่าเราแก่จริงๆ)
เรื่องเริ่มขึ้นจาก Gipsy Doc วายร้ายแห่งอวกาศบุกเข้าไปในพิพิธภัณฑ์และตามล่าตัวโปรเฟสเซอร์ยูโทเปีย มอร์ สาวงามผู้กำลังวิจัยความลับของกำเนิดโลกผ่านทางฟอสซิลแอมโมไนท์ยุคดึกดำบรรพ์ แต่โชคดีที่คอบบร้าผ่านไปขโมยอัญมณีแถวนั้นพอดี จึงช่วยโปรเฟสเซอร์สาวงามออกมาโดยไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรด้วยเลย เห็นคนสวยก็ต้องช่วยไว้ก่อน...นั่นก็ส่วนหนึ่ง แต่รู้สึกว่าวายร้ายที่บุกไปหาโปรเฟสเซอร์จะเป็นโจทก์เก่าของคอบร้าเสียด้วยค่ะ คุ้นๆ ว่าจะอยู่ในกลุ่มโจรสลัดกิลด์ แต่ก็นานจนจำแทบไม่ได้แล้วค่ะ
"เลดี้ อาร์มารอยด์" แอนดรอยส์สาวสหายคู่ใจของคอบบร้าสะกิดใจกับความสำคัญของหอยทากโบราณว่าเหตุใดจึงเป็นที่ต้องการมากขนาดนั้น ทั้งคู่จึงติดตามโปรเฟสเซอร์ยูโทเปียไปยังดาวอังคารและเข้าร่วมปฏิบัติการตามหาหอยทากโบราณเพื่อค้นหาความลับนี้ค่ะ ที่นั่นเอง ศัตรูสุดคลาสสิคตลอดการของคอบร้าก็ปรากฏตัวขึ้น เขาคือ "คริสตัล บอย" ชายหนุ่มที่มีโครงกระดูกทองคำและผิวกายเป็นคริสตัล เห็นปุ๊บทราบทันทีค่ะว่าพลังในการออกแบบของบุอิจิ เทราซาว่าถือเป็นระดับเกจิในวงการการ์ตูนไซไฟของญี่ปุ่นแน่นอน ไม่แน่ใจว่าคริสตัล บอยมาปฏิบัติการล่าหอยทากด้วยหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ คือทั้งคอบร้าและโปรเฟสเซอร์ยูโทเปียก็ต้องหนีกันอีกรอบ
เป็นผลงานที่ชวนให้ระลึกถึงมากเลยค่ะ ความสามารถของคอมพิวเตอร์กราฟิค 3D ทำให้เมื่อ 30 ปีผ่านไป ผลงานชิ้นนี้ได้ถูกสร้างให้ดีใกล้เคียงกับจินตนาการเข้าไปทุกขณะ แต่สาเหตุที่ควรห้อยป้าย 18+ ไว้เพื่อป้องกันเด็กเล็กๆ เข้ามาดูเนื่องจากสาวงามในเรื่องนี้แต่งกายด้วยชุดที่เหมือนใช้ผ้าจากผ้าเช็ดหน้าผืนเดียวมาตัดค่ะ แฮ่ม...ที่จริงก็ดูเจริญตาเจริญใจกับก้นและหน้าอกงามๆ หรอกนะคะ แต่เยาวชนไม่ต้องรีบสร้างจินตนาการจากแรงดึงดูดทางเพศเหล่านี้นักก็ได้
Cobra คืองาน Sexy sci-fi ที่จงใจขายหนุ่มใหญ่นะคะ กลุ่มสิทธิสตรีดูแล้วคงของขึ้นเนื่องจากผู้หญิงในเรื่องถูกใช้เป็น material หรือวัสดุอุปกรณ์เสียมากกว่า สิ่งที่ทำให้ผู้ชายสยบได้คือความสวยและมีเสน่ห์ ในระหว่างผู้หญิงที่ดีและได้รับยกย่อยจากความสามารถอย่างแท้จริงกลับกลายเป็นแอนดรอยด์อย่างเลดี้ซึ่งไม่ใช่มนุษย์
อย่างไรก็ตาม Cobra คือผลงานของยุคสมัยที่อยู่เหนือกาลเวลาและเป็นแรงบันดาลใจให้ชนรุ่นหลังสร้างงานที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ขึ้นมาเพื่อเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งเช่นกันค่ะ
วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11264 มติชนรายวัน
07 มกราคม 2552
เทรนด์การ์ตูนประจำปี 2008 และก้าวเล็กๆ สู่ 2009
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
ระหว่างกำลังนั่งรอให้ข้ามปีด้วยความตื่นเต้นก็พบบทความหนึ่งของคุณ Deb Aoki เข้าทางเวบไซต์ http://manga.about.com ค่ะ คุณ Deb ได้เขียนทำนายความเป็นไปของการ์ตูนญี่ปุ่นทางฝั่งตะวันตก (เขาใช้คำว่า manga หมายถึงการ์ตูนญี่ปุ่น ส่วนการ์ตูนฝรั่งจะใช้ comic หรือ cartoon นะคะ) ในปี 2008 ที่ผ่านมา เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเทรนด์ไหนเหมือนไทยบ้าง
ลำดับแรกสุดคือ "การ์ตูนสู่หนังใหญ่" คือความนิยมในการนำหนังสือการ์ตูนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดงนั่นเองค่ะ ช่วงครึ่งหลังของปี 2008 เรื่องที่แรงที่สุดเห็นจะเป็น "20th Century Boy" ฉบับภาพยนตร์ภาคหนึ่งในไตรภาคซึ่งเปิดตัวฉายและทำเงินสูงลิ่วตามที่คาดและยังคงมีกระแสแรงได้ถึงภาคถัดไป ในไทยก็นับว่าแรงแต่น่าจะยังห่างชั้นกับ Nana อยู่ค่ะเทรนด์ที่สองคือ "การ์ตูนเก่าเกิดใหม่" หลายสำนักพิมพ์ฝั่งตะวันตกนำการ์ตูนเก่ามาตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งในฉบับปรับปรุงใหม่ เช่น Slam Dunk การ์ตูนบาสเกตบอลในตำนานที่เชื่อว่าได้สร้างนักเบสบอลมือดีมากมาย พิมพ์ซ้ำในอเมริกาเมื่อพฤศจิกายน 2008 ส่วนเมืองไทยกระแสขุดกรุเงียบเหมือนเป่าสากด้วยต้นทุนค่ากระดาษและวิกฤตน้ำมันตั้งแต่ต้นปีนั่นเอง
เทรนด์ที่สามคือ "ไลต์โนเวล (Light Novel) กับยอดขายที่ไม่ไลต์" กระแสนี้ค่อยๆ แรงขึ้นในวงการการ์ตูนของไทยเช่นกันค่ะ แต่สำหรับวงการสิ่งพิมพ์และนวนิยาย ไลต์โนเวลเป็นกระแสที่แรงต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ไลต์โนเวลสำหรับวงการการ์ตูนคืองานเขียนที่มีเทคนิคการเขียนคล้ายการอ่านการ์ตูน เน้นบทสนทนาและการดำเนินเรื่องมากกว่าประโยคพรรณนาโวหารและภาษาที่สละสลวยแบบนวนิยาย ความที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย จบเร็ว จึงทำให้ยอดขายสูงมากและหลายเรื่องถูกนำไปสร้างเป็นการ์ตูนและแอนิเมชั่นเนื่องจากเข้าถึงผู้ชมวัยรุ่นได้เป็นอย่างดีนั่นเองเทรนด์ที่สี่ของฝั่งตะวันตกคือการ์ตูนจากนักวาดฝั่งตะวันตกคลอดออกมามากขึ้น ส่วนของไทยรู้สึกว่าจะคงที่ค่ะ เมื่อเทียบกันแล้วจะไปโตฝั่งไลท์โนเวลเสียมากกว่า เทรนด์ที่ห้าคือ "Mooks" หรือแม็กกาซีนกับบุ้ครวมกันซึ่งกำลังอินฝั่งตะวันตกแต่ฝั่งไทยไม่มีกระแสนี้เลย เทรนด์ที่หกคือ "การ์ตูนบนมือถือ" ซึ่งแรงมากในญี่ปุ่นช่วงสองสามปีที่ผ่านมาและกำลังขยายตลาดในฝั่งอเมริกา ของไทยเนื่องจากการให้บริการมัลติมีเดียบนโทรศัพท์ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก คงเป็นฝันที่อีกไกลกว่าจะถึงเลยค่ะ เทรนด์ที่เจ็ด ?กำเนิดแนวการ์ตูนใหม่? เนื่องจากทางฝั่งตะวันตกรู้จัก manga เพียงการ์ตูนผู้ชายและการ์ตูนผู้หญิงเท่านั้น กระแสการ์ตูนแบบใหม่อย่างการ์ตูนบอยส์เลิฟ การ์ตูนเสริมทักษะ หรือการ์ตูนที่เขียนจากนวนิยายที่โด่งดังกลายเป็นกระแสใหม่ที่ชวนฮือฮา คนไทยยืดอกได้เลยเพราะแนวการ์ตูนเหล่านี้ เรารู้จักมาก่อนตั้งเป็นสิบปีแล้ว
เทรนด์ที่แปดคือ "เกาะติดตลาดญี่ปุ่น" หมายถึงการวางแผงการ์ตูนให้รวดเร็วทันญี่ปุ่นมากขึ้น ไม่ใช่ที่ญี่ปุ่นจบเล่ม 10 ไปแล้วแต่ในต่างประเทศเพิ่งถึงเล่ม 2 กระแสนี้มาแรงในไทยเช่นกันค่ะ อีกตลาดหนึ่งคือการ์ตูนเกาหลี (manhwa) ซึ่งตีตลาดอเมริกามากขึ้น ส่วนในไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเนื่องจากเทียบคุณภาพงานแล้ว นักเขียนไทยหลายคนเขียนได้ดีกว่าการ์ตูนเกาหลีเสียอีก เทรนด์ที่เก้าคือ "หนุ่มๆ รุมรัก (กันเอง)" กระแสการ์ตูนแนวชายหนุ่มหันมารักกันเองแต่เป็นการ์ตูนสำหรับผู้หญิงตีตลาดอเมริกามากขึ้นค่ะ แต่ของไทยกลับตรงข้าม ในปีที่ผ่านมาอาจเรียกว่าไม่มีการ์ตูนแนวนี้วางแผงเลยเนื่องจากการควบคุมสื่อที่เข้มงวดมากขึ้น
เทรนด์สุดท้าย "การ์ตูนผู้หญิงก็โป๊ได้" เมื่อการ์ตูนผู้หญิงซึ่งถูกมองว่าเป็นการ์ตูนตาหวานเริ่มเปิดเผยเนื้อหนังและฉากจู๋จี๋กันมากขึ้นจนเกิดเสียงวิจารณ์ติดลบมากมายแต่ยอดขายก็ยังพุ่งกระฉูด ในไทยเรามีระบบเซ็นเซอร์ชั้นเยี่ยมที่แต่งภาพและบังด้วย "ควับ" "พรึบ" ซึ่งแสดงถึงความรับผิดชอบของสำนักพิมพ์การ์ตูนต่อสังคมเมืองพุทธอย่างไทย จึงไม่น่าห่วงมากเท่าไร อย่างไรก็ตาม ฝั่งตะวันตกได้จัดให้ manga ของบางสำนักพิมพ์เป็นสื่อที่ห้ามจำหน่ายในเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีแล้ว ชินจังคือหนึ่งในนั้นค่ะ แต่ใช่ว่าจะกีดกันแบบไร้ทางเลือกให้เด็กๆ เพราะอเมริกาเองก็ผลิตการ์ตูนสำหรับเยาวชนชั้นดีได้มากมาย เป็นทางเลือกให้เด็กๆ ได้ชมกันแทนการ์ตูนที่ใช้ความรุนแรงและโชว์ช้างน้อยอย่างชินจัง ในไทยเองก็มีการ์ตูนไทยที่ฉายทางโทรทัศน์คุณภาพดีมากมายนะคะ เวลาที่ "การ์ตูนไทย" จะกลายเป็นสื่อสำหรับเยาวชนคงอีกไม่นานแล้วค่ะ
แต่เวลาที่ "การ์ตูนญี่ปุ่นในไทย" จะยอมรับว่าเป็นสื่อสำหรับวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่แต่ไม่ใช่สำหรับเด็กเล็กๆ ...อาจจะอีกนาน
วันที่ 04 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11257 มติชนรายวัน
โดย วินิทรา นวลละออง
ระหว่างกำลังนั่งรอให้ข้ามปีด้วยความตื่นเต้นก็พบบทความหนึ่งของคุณ Deb Aoki เข้าทางเวบไซต์ http://manga.about.com ค่ะ คุณ Deb ได้เขียนทำนายความเป็นไปของการ์ตูนญี่ปุ่นทางฝั่งตะวันตก (เขาใช้คำว่า manga หมายถึงการ์ตูนญี่ปุ่น ส่วนการ์ตูนฝรั่งจะใช้ comic หรือ cartoon นะคะ) ในปี 2008 ที่ผ่านมา เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเทรนด์ไหนเหมือนไทยบ้าง
ลำดับแรกสุดคือ "การ์ตูนสู่หนังใหญ่" คือความนิยมในการนำหนังสือการ์ตูนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ฉบับคนแสดงนั่นเองค่ะ ช่วงครึ่งหลังของปี 2008 เรื่องที่แรงที่สุดเห็นจะเป็น "20th Century Boy" ฉบับภาพยนตร์ภาคหนึ่งในไตรภาคซึ่งเปิดตัวฉายและทำเงินสูงลิ่วตามที่คาดและยังคงมีกระแสแรงได้ถึงภาคถัดไป ในไทยก็นับว่าแรงแต่น่าจะยังห่างชั้นกับ Nana อยู่ค่ะเทรนด์ที่สองคือ "การ์ตูนเก่าเกิดใหม่" หลายสำนักพิมพ์ฝั่งตะวันตกนำการ์ตูนเก่ามาตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งในฉบับปรับปรุงใหม่ เช่น Slam Dunk การ์ตูนบาสเกตบอลในตำนานที่เชื่อว่าได้สร้างนักเบสบอลมือดีมากมาย พิมพ์ซ้ำในอเมริกาเมื่อพฤศจิกายน 2008 ส่วนเมืองไทยกระแสขุดกรุเงียบเหมือนเป่าสากด้วยต้นทุนค่ากระดาษและวิกฤตน้ำมันตั้งแต่ต้นปีนั่นเอง
เทรนด์ที่สามคือ "ไลต์โนเวล (Light Novel) กับยอดขายที่ไม่ไลต์" กระแสนี้ค่อยๆ แรงขึ้นในวงการการ์ตูนของไทยเช่นกันค่ะ แต่สำหรับวงการสิ่งพิมพ์และนวนิยาย ไลต์โนเวลเป็นกระแสที่แรงต่อเนื่องมาหลายปีแล้ว ไลต์โนเวลสำหรับวงการการ์ตูนคืองานเขียนที่มีเทคนิคการเขียนคล้ายการอ่านการ์ตูน เน้นบทสนทนาและการดำเนินเรื่องมากกว่าประโยคพรรณนาโวหารและภาษาที่สละสลวยแบบนวนิยาย ความที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย จบเร็ว จึงทำให้ยอดขายสูงมากและหลายเรื่องถูกนำไปสร้างเป็นการ์ตูนและแอนิเมชั่นเนื่องจากเข้าถึงผู้ชมวัยรุ่นได้เป็นอย่างดีนั่นเองเทรนด์ที่สี่ของฝั่งตะวันตกคือการ์ตูนจากนักวาดฝั่งตะวันตกคลอดออกมามากขึ้น ส่วนของไทยรู้สึกว่าจะคงที่ค่ะ เมื่อเทียบกันแล้วจะไปโตฝั่งไลท์โนเวลเสียมากกว่า เทรนด์ที่ห้าคือ "Mooks" หรือแม็กกาซีนกับบุ้ครวมกันซึ่งกำลังอินฝั่งตะวันตกแต่ฝั่งไทยไม่มีกระแสนี้เลย เทรนด์ที่หกคือ "การ์ตูนบนมือถือ" ซึ่งแรงมากในญี่ปุ่นช่วงสองสามปีที่ผ่านมาและกำลังขยายตลาดในฝั่งอเมริกา ของไทยเนื่องจากการให้บริการมัลติมีเดียบนโทรศัพท์ยังมีข้อจำกัดอยู่มาก คงเป็นฝันที่อีกไกลกว่าจะถึงเลยค่ะ เทรนด์ที่เจ็ด ?กำเนิดแนวการ์ตูนใหม่? เนื่องจากทางฝั่งตะวันตกรู้จัก manga เพียงการ์ตูนผู้ชายและการ์ตูนผู้หญิงเท่านั้น กระแสการ์ตูนแบบใหม่อย่างการ์ตูนบอยส์เลิฟ การ์ตูนเสริมทักษะ หรือการ์ตูนที่เขียนจากนวนิยายที่โด่งดังกลายเป็นกระแสใหม่ที่ชวนฮือฮา คนไทยยืดอกได้เลยเพราะแนวการ์ตูนเหล่านี้ เรารู้จักมาก่อนตั้งเป็นสิบปีแล้ว
เทรนด์ที่แปดคือ "เกาะติดตลาดญี่ปุ่น" หมายถึงการวางแผงการ์ตูนให้รวดเร็วทันญี่ปุ่นมากขึ้น ไม่ใช่ที่ญี่ปุ่นจบเล่ม 10 ไปแล้วแต่ในต่างประเทศเพิ่งถึงเล่ม 2 กระแสนี้มาแรงในไทยเช่นกันค่ะ อีกตลาดหนึ่งคือการ์ตูนเกาหลี (manhwa) ซึ่งตีตลาดอเมริกามากขึ้น ส่วนในไทยยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเนื่องจากเทียบคุณภาพงานแล้ว นักเขียนไทยหลายคนเขียนได้ดีกว่าการ์ตูนเกาหลีเสียอีก เทรนด์ที่เก้าคือ "หนุ่มๆ รุมรัก (กันเอง)" กระแสการ์ตูนแนวชายหนุ่มหันมารักกันเองแต่เป็นการ์ตูนสำหรับผู้หญิงตีตลาดอเมริกามากขึ้นค่ะ แต่ของไทยกลับตรงข้าม ในปีที่ผ่านมาอาจเรียกว่าไม่มีการ์ตูนแนวนี้วางแผงเลยเนื่องจากการควบคุมสื่อที่เข้มงวดมากขึ้น
เทรนด์สุดท้าย "การ์ตูนผู้หญิงก็โป๊ได้" เมื่อการ์ตูนผู้หญิงซึ่งถูกมองว่าเป็นการ์ตูนตาหวานเริ่มเปิดเผยเนื้อหนังและฉากจู๋จี๋กันมากขึ้นจนเกิดเสียงวิจารณ์ติดลบมากมายแต่ยอดขายก็ยังพุ่งกระฉูด ในไทยเรามีระบบเซ็นเซอร์ชั้นเยี่ยมที่แต่งภาพและบังด้วย "ควับ" "พรึบ" ซึ่งแสดงถึงความรับผิดชอบของสำนักพิมพ์การ์ตูนต่อสังคมเมืองพุทธอย่างไทย จึงไม่น่าห่วงมากเท่าไร อย่างไรก็ตาม ฝั่งตะวันตกได้จัดให้ manga ของบางสำนักพิมพ์เป็นสื่อที่ห้ามจำหน่ายในเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีแล้ว ชินจังคือหนึ่งในนั้นค่ะ แต่ใช่ว่าจะกีดกันแบบไร้ทางเลือกให้เด็กๆ เพราะอเมริกาเองก็ผลิตการ์ตูนสำหรับเยาวชนชั้นดีได้มากมาย เป็นทางเลือกให้เด็กๆ ได้ชมกันแทนการ์ตูนที่ใช้ความรุนแรงและโชว์ช้างน้อยอย่างชินจัง ในไทยเองก็มีการ์ตูนไทยที่ฉายทางโทรทัศน์คุณภาพดีมากมายนะคะ เวลาที่ "การ์ตูนไทย" จะกลายเป็นสื่อสำหรับเยาวชนคงอีกไม่นานแล้วค่ะ
แต่เวลาที่ "การ์ตูนญี่ปุ่นในไทย" จะยอมรับว่าเป็นสื่อสำหรับวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่แต่ไม่ใช่สำหรับเด็กเล็กๆ ...อาจจะอีกนาน
วันที่ 04 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11257 มติชนรายวัน