คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วค่ะ ว่าด้วย Spirited Away แอนิเมชั่นเรื่องแรกของญี่ปุ่นที่ได้รับรางวัลออสการ์เมื่อปี 2002 โดยเป็นแอนิเมชั่นไม่ได้พากย์อังกฤษเรื่องเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ และเป็นหนึ่งในสองเรื่องในประวัติศาสตร์ออสการ์สาขาแอนิเมชั่นที่สร้างโดยใช้การวาดมือ (stop-motion) เข้ามาประกอบ นอกจากนั้นยังทุบสถิติหนังทำเงินตลอดกาลในญี่ปุ่นโดยเขี่ยไททานิคตกและขึ้นเป็นอันดับหนึ่งเสียแทน เมื่อรวมรายได้จากการฉายทั่วโลกแล้ว Spirited Away คือภาพยนตร์ที่ทำกำไรสูงสุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นค่ะ
สิ่งที่ทำให้ Spirited Away อาจเป็นตัวแทนวัฒนธรรมญี่ปุ่นของยุคสมัยที่จะอยู่ยงคงกระพันไปอีกหลายสิบปีหลังจากที่ผู้กำกับฯอากิระ คุโรซาว่า เคยสร้างปรากฏการณ์นี้มาแล้วและทำให้ญี่ปุ่นถูกมองว่าเป็นวัฒนธรรมซามูไรคือการแทรก "ความเป็นญี่ปุ่น" ลงในแอนิเมชั่นอย่างชาญฉลาด ดูไปก็ต้องโหยหวนไปว่า "สุดยอด...คิดได้ยังไงเนี่ย เขาใช้สมองส่วนไหนคิด" ทุกอย่างในเรื่องแสดงความเป็น "วัฒนธรรมญี่ปุ่น" ไม่ใช่เพราะเหตุการณ์เกิดในญี่ปุ่นหรือตัวละครเป็นญี่ปุ่น แต่ลองสังเกตตอนดูนะคะ จิฮิโระหนูน้อยนางเอกเป็นเด็กน่ารักในสายตาคนรอบข้างเพราะอะไร คำตอบคือเพราะเธอ "กล้าแสดงความคิดเห็นอย่างสุภาพ อ่อนน้อม ให้เกียรติผู้อาวุโส" เธอโค้งขอบคุณทุกครั้งเมื่อได้รับความช่วยเหลือ และกระทั่งเดินผ่านผีไร้หน้าซึ่งคงอาวุโสกว่า เธอยังก้มหลังนิดๆ ตอนเดินผ่าน! การให้เกียรติผู้อื่นซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่งดงามของตะวันออกยังแสดงผ่าน "การเรียกชื่อ" ด้วยค่ะ จิฮิโระจะเรียกคนที่แก่กว่าด้วยคำที่แสดงความอ่อนน้อม เช่น "คุณลุง" "คุณย่า" โดยไม่เรียกชื่อตัวซึ่งวัฒนธรรมตะวันตกพบไม่บ่อยค่ะ ดังนั้น การเรียกคำแทนตัวเช่นนี้น่าจะทำให้ฝรั่งงงไปพอสมควรแต่คนไทยน่าจะคุ้นเคย นี่คือ "ค่านิยมความอ่อนน้อมถ่อมตน" นั่นเองนอกจากนั้น "ค่านิยมการทำงานหนัก" ในคนวัยทำงานถือเป็นเรื่องสำคัญ ดังเช่นตอนที่ฮาคุบอกจิฮิโระว่าถ้าเธอไม่ทำงานเธอจะถูกสาปเป็นหมู แต่ถ้าเธอทำงานแม้จะเล็กน้อยแค่ไหนก็ไม่มีใครสาปเธอได้ หมายถึงคนทำงานคือคนที่ได้รับการยกย่อง ในระหว่างที่คนไม่ทำงานและอาศัยข้าวคนอื่นกินถือเป็นคนที่ควรดูถูกและจะทำประโยชน์ได้มากที่สุดก็ตอนตายแล้วเท่านั้น (สำหรับคนคือไม่เป็นภาระอีก สำหรับหมูคือได้เป็นอาหาร) เด็กญี่ปุ่นที่ทำงานพิเศษจึงถือเป็นเรื่องปกตินะคะ ส่วนเด็กไทยไม่ต้องเลียนแบบค่ะ เราเป็นครอบครัวขยายมีคุณปู่คุณย่าให้ดูแล มีงานบ้านให้ช่วยเป็นกระบุง การช่วยงานที่บ้านอาจเป็นการแสดงออกถึงการทำงานหนักในวัยรุ่นและรับผิดชอบต่อครอบครัวที่ดีกว่าทำงานนอกบ้านเยอะค่ะ
จิฮิโระยังนำเสนอ "ค่านิยมในการกตัญญู" เมื่อเธอไม่สนใจทองคำกองโตที่ผีไร้หน้าเสนอให้ด้วยเหตุผลว่า "ฉันไม่อยากได้ ฉันจะรีบไปช่วยฮาคุ" ซึ่งเธอแสดงให้เห็นว่าความร่ำรวยของตัวเองไม่ได้สำคัญไปกว่าการช่วยเพื่อนที่มีบุญคุณกับเธอซึ่งกำลังบาดเจ็บ วัฒนธรรมตะวันตกในหมู่คนบ้างานไม่มีแบบนี้นะคะ หลายคนถือว่าในการทำงานต้องเอาตัวเองรอดก่อน ผลกำไรของบริษัทสำคัญกว่าเพื่อนซึ่งหมายถึงการเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมสำคัญกว่าพวกพ้อง และหลายคนเป็นเพื่อนเพราะเรื่องงานมากกว่าอยากรู้จักกันจริงๆ (เขาจึงต้องพัฒนาการทำงานเป็นทีม ในระหว่างที่ไทยต้องพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคลเสียแทน) เมื่อเราดูจึงไม่ได้รู้สึกขัดเขินแต่รับรองว่าฝรั่งต้องรู้สึกเหมือนโดนแทงจี๊ดๆ อยู่ในใจค่ะ
วัฒนธรรมอื่นๆ ที่สอดแทรกความเป็นญี่ปุ่นและพบได้ในเรื่อง เช่น การกระซิบผ่านประตูแทนที่จะเป็นเคาะประตู นั่นเพราะบ้านญี่ปุ่นใช้ประตูกระดาษไงคะ หรือแม้แต่การอาบน้ำในโรงอาบน้ำสาธารณะซึ่งเป็นเรื่องปกติในญี่ปุ่น แต่คนไทยอาจนึกถึงอาบอบนวดและฝรั่งนึกถึงสปาเสียแทน การเห็นลูกค้าเป็นพระเจ้าซึ่งก็บ่งบอกความเป็นพ่อค้าอันดับหนึ่งในเอเชียได้ดี และการเดินทางด้วยรถไฟของจิฮิโระซึ่งบ้านเรามีไม่มากนักเพราะเราใช้รถส่วนตัวกับรถเมล์เป็นหลักเสียมากกว่า ภาพเหล่านี้เป็นการนำเสนอวัฒนธรรมญี่ปุ่นผสานผลงานที่เปี่ยมด้วยจินตนาการกลั่นออกมาเป็นแอนิเมชั่นเรื่องนี้ค่ะ แม้เล็กน้อยแต่ก็ทำให้เราคุ้นเคยกับญี่ปุ่นมากขึ้น ถ้าอนาคตต้องเลือกซื้อของจากญี่ปุ่นหรือประเทศ A เราอาจมีโอกาสเลือกจากญี่ปุ่นเพราะคุ้นเคยกว่าโดยไม่รู้ตัวอย่างไรก็ตาม ไม่แน่ใจว่า Studio Ghibli เดินหมากผิดหรือต้องการเปิดตลาดใหม่ที่ลูกค้าต่างชาติย่อยง่ายขึ้น เพราะหลังได้ออสการ์ก็สร้างแอนิเมชั่นจากวรรณกรรมเยาวชนของตะวันตกแทนที่จะเป็นเรื่องของญี่ปุ่นแท้ๆ ผลคือคนญี่ปุ่นตีโจทย์วัฒนธรรมตะวันตกไม่แตก ในระหว่างที่ผู้เขียนวรรณกรรมเองก็ไม่ได้เข้าใจว่าแอนิเมชั่นกับการ์ตูนสำหรับเด็กมันไม่เหมือนกัน
คงต้องเชียร์แล้วค่ะว่า Studio Ghibli ขาลงหลังยุค Spirited Away จะกลับมาผงาดได้อีกเมื่อไหร่ ดีไม่ดีหนังไทยอาจแซงหน้าไปก่อนนะคะเพราะเราตีโจทย์แตกแล้ว วัฒนธรรมไทยคือการท่องเที่ยวและมวยไทยนี่เอง มาอยู่ต่างประเทศพอบอกว่าเป็นคนไทยเขาก็จะรู้จักภูเก็ตกับโทนี่ จา เลยนะคะ ในสถานีรถไฟใต้ดินที่ลอนดอนก็มีโปสเตอร์หนังไทยที่เขียนชื่อโทนี่ จา ติดอยู่แผ่นใหญ่เท่าหนังฮอลลีวู้ดด้วย น่าภูมิใจกว่าโดนถามว่าเมืองชื่อไทยแลนด์อยู่ในประเทศอะไรตั้งเยอะค่ะ
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11341 มติชนรายวัน
28 มีนาคม 2552
21 มีนาคม 2552
Spirited Away จินตนาการกลั่นตัวเป็นการ์ตูน (1)
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
สำหรับแฟนผลงานแอนิเมชั่น (ภาพยนตร์การ์ตูน) ของ Studio Ghibli ค่ายแอนิเมชั่นที่เปรียบดั่งวอลต์ ดิสนีย์ ของญี่ปุ่น เรื่องนี้ย่อมเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดีแน่นอนค่ะเนื่องจากเป็นแอนิเมชั่นเรื่องแรกของญี่ปุ่นที่ประกาศศักดาบนเวทีออสการ์ด้วยการคว้ารางวัลแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมในปี 2002 เอาชนะ Ice Age ซึ่งดังเป็นพลุแตกในบ้านเรา ที่น่าสนใจคือ Spirited Away กับ Ice Age เป็นแอนิเมชั่นที่เจาะตลาดคนละกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด และเวทีออสการ์พิสูจน์แล้วว่า "แอนิเมชั่น" ซึ่งเป็นศิลปะการถ่ายทอดภาพยนตร์ผ่านภาพวาดกับ "การ์ตูน" สำหรับเด็กต่างกันอย่างชัดเจน สิ่งที่ทำให้ Spirited Away เรียกเสียงฮือฮาได้มากกว่านั้นคือเป็นแอนิเมชั่นที่ไม่ได้พากย์ภาษาอังกฤษเพียงเรื่องเดียวในประวัติศาสตร์รางวัลนี้ และเป็นหนึ่งในสองเรื่องในประวัติศาสตร์รางวัลที่สร้างแอนิเมชั่นแบบวาดด้วยมือ (stop-motion) ในระหว่างที่เรื่องอื่นสร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิคล้วน (และส่วนใหญ่เป็นแอนิเมชั่นสำหรับเด็ก)
ก่อนจะตัดสินใจดูเรื่องนี้ต้องเรียนให้ทราบก่อนค่ะว่าเรื่องนี้ไม่ใช่การ์ตูนสำหรับเด็กเล็กๆ นะคะ เด็กโตและผู้ใหญ่ดูได้แต่จะตีความออกมาต่างกันนิดหน่อยเนื่องจากบทภาพยนตร์สร้างได้ละเมียดและตีความได้หลายชั้นมาก ขณะดูถึงกับต้องหยุดภาพแล้วค่อยๆ คิดเป็นระยะว่าถ้าเราเป็นเด็กเราจะสนุกเพราะอะไร ถ้าเราเป็นผู้ใหญ่แล้วจะสนุกตรงไหน โดยส่วนตัวครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ได้ดูเรื่องนี้ค่ะ (ครั้งแรกดูหลังได้รับออสการ์ใหม่ๆ และสารภาพว่าดูไม่รู้เรื่อง) แถมดูหลังจากเพิ่งชม Mononoke Hime แอนิเมชั่นที่ขณะดูเชื่อว่านั่นคือจุดสูงสุดของ Studio Ghibli แล้ว ถ้า Spirited Away ออกมาไม่สมกับออสการ์ล่ะก็ เราจะสับให้เป็นบะช่อเชียว
แล้วก็สับไม่ลงค่ะ มัน...มันดีมาก!
Spirited Away เล่าถึงการผจญภัยของ "จิฮิโระ" เด็กสาววัยประถม เธอกำลังย้ายบ้านพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่แต่เธอไม่พอใจเนื่องจากไม่ต้องการย้ายโรงเรียนและแยกจากเพื่อนๆ ระหว่างทางไปบ้านใหม่ ทั้งสามคนบังเอิญไปพบกับร้านรวงมากมายและอาหารอร่อยน่ากิน คุณพ่อคุณแม่ของจิฮิโระลงมือกินโดยไม่ทราบว่านั่นคืออาหารของเหล่าภูติและเทพเจ้า ผลคือทั้งสองถูกแม่มด "ยูบาบะ" สาปให้เป็นหมู ระหว่างที่จิฮิโระหนี เธอพบกับ "ฮาคุ" เด็กหนุ่มที่ช่วยให้เธอรอดพ้นจากคำสาปและแนะนำให้เธอเข้าไปทำงานในโรงอาบน้ำของยูบาบะเพราะคนทำงานจะไม่โดนสาป ระหว่างนั้นจึงค่อยคิดหาทางช่วยคุณพ่อกับคุณแม่ให้พ้นคำสาปก่อนโดนจับมาทำอาหาร
จิฮิโระได้เข้ามาทำงานในโรงอาบน้ำในที่สุดโดยเธอโดนยึดชื่อเป็นตัวประกัน (ซึ่งนิทานญี่ปุ่นเชื่อว่าถ้าโดนยึดชื่อก็จะถูกกักความทรงจำและพลังไว้) และได้รับชื่อใหม่ว่า "เซ็น" ผลงานแรกของเซ็นคือช่วยอาบน้ำให้ภูติเหม็นซึ่งส่งกลิ่นตลบอบอวลจนไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ เธอช่วยดึงเอาของที่ติดอยู่ในตัวภูติออกไปและในที่สุดจึงปรากฏความจริงว่าภูติตนนั้นคือเทพเจ้ามังกรแห่งแม่น้ำนั่นเอง ดูถึงตรงนี้แล้วอมยิ้มเลยค่ะ อยากคารวะผู้กำกับฯฮายาโอะ มิยาซากิ ซักสามจอก แท้จริงสถานที่นี้คือ "สถานที่ชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์" นั่นเอง คนเราทำได้โดยการปฏิบัติธรรมแต่จะให้สร้างสถานปฏิบัติธรรมในการ์ตูนมันก็ดูน่าเบื่อไปหน่อย ผู้กำกับฯมิยาซากิจึงสร้าง "โรงอาบน้ำ" เสียแทนซึ่งให้นัยยะเหมือนกัน โอ้...น่าทึ่งค่ะน่าทึ่ง
ผลงานของเซ็นช่วยให้แม่มดยูบาบะพอใจมาก แต่ก็ไม่นานเพราะเซ็นเชิญแขกที่น่ากลัวเข้ามาในโรงอาบน้ำเสียแล้ว แขกคนนั้นคือ "คาโอนาชิ" หรือผีไม่มีหน้า (แต่มีหน้ากาก) ซึ่งเข้ามาป่วนด้วยการเอาทองคำมาล่อเหล่าพนักงานในโรงอาบน้ำให้เอาอาหารมาให้กินจนตัวอ้วนพี สุดท้ายก็กินพนักงานเสียด้วยเลย ดูแล้วคาโอนาชิอยากเป็นเพื่อนกับเซ็นแต่เซ็นไม่ว่างเล่นด้วยเนื่องจากเธอต้องการช่วยฮาคุเด็กหนุ่มที่ช่วยเธอในตอนแรกด้วยการนำของที่ฮาคุขโมยจากแม่มด "เซนิบะ" พี่สาวฝาแฝดของยูบาบะไปคืนให้เร็วที่สุด
การผจญภัยยกสองของเซ็นเริ่มขึ้นเมื่อเธอต้องขึ้นรถไฟไปหาเซนิบะเพื่อคืนของพร้อมสหายอีก 3 หน่อ ประกอบด้วยคาโอนาชิที่สิ้นฤทธิ์ไปแล้ว กับ "โบ" หลานของยูบาบะที่ถูกเลี้ยงมาแบบขังไว้ในห้องไม่ให้ออกไปโลกภายนอกเพราะกลัวเชื้อโรคจะทำให้หลานป่วย โบถูกประคบประหงมจนยืนไม่ได้แม้ถึงวัยที่ควรเดินเองได้แล้ว อีกตัวคือนกที่ยูบาบะเลี้ยงไว้ให้ช่วยดูแลโบนั่นเอง การที่หลานหนีออกไปจากบ้านทำให้ยูบาบะตกใจมากและยอมทำข้อตกลงกับฮาคุเพื่อให้พาโบกลับมาแลกกับให้เซ็นและพ่อแม่กลับสู่โลกปกติเช่นเดิม
เนื้อเรื่องคร่าวๆ เพียงเท่านี้ค่ะ ถ้ามีซับไตเติ้ลดีๆ ที่อ่านรู้เรื่องรับรองว่าสนุกจนแทบกะพริบตาไม่ได้ งวดหน้ามาต่ออีกนิดว่านอกจากเนื้อเรื่องดี ภาพสวย บทแจ่ม ลำดับภาพเยี่ยม เพลงเพราะ มีรางวัลการันตี ทำรายได้ถล่มทลายในญี่ปุ่นและทั่วโลก ฯลฯ สิ่งที่ทำให้ Spirited Away กลายเป็นตัวแทนวัฒนธรรมแอนิเมชั่นของญี่ปุ่นในสายตาชาวโลกนอกเหนือจากการเอาหุ่นมาสู้กันแบบกันดั้ม หรือปล่อยพลังสู้กันแบบดราก้อนบอลล์คืออะไร งวดหน้าค่ะ
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11334 มติชนรายวัน
โดย วินิทรา นวลละออง
สำหรับแฟนผลงานแอนิเมชั่น (ภาพยนตร์การ์ตูน) ของ Studio Ghibli ค่ายแอนิเมชั่นที่เปรียบดั่งวอลต์ ดิสนีย์ ของญี่ปุ่น เรื่องนี้ย่อมเป็นเรื่องที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดีแน่นอนค่ะเนื่องจากเป็นแอนิเมชั่นเรื่องแรกของญี่ปุ่นที่ประกาศศักดาบนเวทีออสการ์ด้วยการคว้ารางวัลแอนิเมชั่นยอดเยี่ยมในปี 2002 เอาชนะ Ice Age ซึ่งดังเป็นพลุแตกในบ้านเรา ที่น่าสนใจคือ Spirited Away กับ Ice Age เป็นแอนิเมชั่นที่เจาะตลาดคนละกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด และเวทีออสการ์พิสูจน์แล้วว่า "แอนิเมชั่น" ซึ่งเป็นศิลปะการถ่ายทอดภาพยนตร์ผ่านภาพวาดกับ "การ์ตูน" สำหรับเด็กต่างกันอย่างชัดเจน สิ่งที่ทำให้ Spirited Away เรียกเสียงฮือฮาได้มากกว่านั้นคือเป็นแอนิเมชั่นที่ไม่ได้พากย์ภาษาอังกฤษเพียงเรื่องเดียวในประวัติศาสตร์รางวัลนี้ และเป็นหนึ่งในสองเรื่องในประวัติศาสตร์รางวัลที่สร้างแอนิเมชั่นแบบวาดด้วยมือ (stop-motion) ในระหว่างที่เรื่องอื่นสร้างด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิคล้วน (และส่วนใหญ่เป็นแอนิเมชั่นสำหรับเด็ก)
ก่อนจะตัดสินใจดูเรื่องนี้ต้องเรียนให้ทราบก่อนค่ะว่าเรื่องนี้ไม่ใช่การ์ตูนสำหรับเด็กเล็กๆ นะคะ เด็กโตและผู้ใหญ่ดูได้แต่จะตีความออกมาต่างกันนิดหน่อยเนื่องจากบทภาพยนตร์สร้างได้ละเมียดและตีความได้หลายชั้นมาก ขณะดูถึงกับต้องหยุดภาพแล้วค่อยๆ คิดเป็นระยะว่าถ้าเราเป็นเด็กเราจะสนุกเพราะอะไร ถ้าเราเป็นผู้ใหญ่แล้วจะสนุกตรงไหน โดยส่วนตัวครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ได้ดูเรื่องนี้ค่ะ (ครั้งแรกดูหลังได้รับออสการ์ใหม่ๆ และสารภาพว่าดูไม่รู้เรื่อง) แถมดูหลังจากเพิ่งชม Mononoke Hime แอนิเมชั่นที่ขณะดูเชื่อว่านั่นคือจุดสูงสุดของ Studio Ghibli แล้ว ถ้า Spirited Away ออกมาไม่สมกับออสการ์ล่ะก็ เราจะสับให้เป็นบะช่อเชียว
แล้วก็สับไม่ลงค่ะ มัน...มันดีมาก!
Spirited Away เล่าถึงการผจญภัยของ "จิฮิโระ" เด็กสาววัยประถม เธอกำลังย้ายบ้านพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่แต่เธอไม่พอใจเนื่องจากไม่ต้องการย้ายโรงเรียนและแยกจากเพื่อนๆ ระหว่างทางไปบ้านใหม่ ทั้งสามคนบังเอิญไปพบกับร้านรวงมากมายและอาหารอร่อยน่ากิน คุณพ่อคุณแม่ของจิฮิโระลงมือกินโดยไม่ทราบว่านั่นคืออาหารของเหล่าภูติและเทพเจ้า ผลคือทั้งสองถูกแม่มด "ยูบาบะ" สาปให้เป็นหมู ระหว่างที่จิฮิโระหนี เธอพบกับ "ฮาคุ" เด็กหนุ่มที่ช่วยให้เธอรอดพ้นจากคำสาปและแนะนำให้เธอเข้าไปทำงานในโรงอาบน้ำของยูบาบะเพราะคนทำงานจะไม่โดนสาป ระหว่างนั้นจึงค่อยคิดหาทางช่วยคุณพ่อกับคุณแม่ให้พ้นคำสาปก่อนโดนจับมาทำอาหาร
จิฮิโระได้เข้ามาทำงานในโรงอาบน้ำในที่สุดโดยเธอโดนยึดชื่อเป็นตัวประกัน (ซึ่งนิทานญี่ปุ่นเชื่อว่าถ้าโดนยึดชื่อก็จะถูกกักความทรงจำและพลังไว้) และได้รับชื่อใหม่ว่า "เซ็น" ผลงานแรกของเซ็นคือช่วยอาบน้ำให้ภูติเหม็นซึ่งส่งกลิ่นตลบอบอวลจนไม่มีใครกล้าเข้าใกล้ เธอช่วยดึงเอาของที่ติดอยู่ในตัวภูติออกไปและในที่สุดจึงปรากฏความจริงว่าภูติตนนั้นคือเทพเจ้ามังกรแห่งแม่น้ำนั่นเอง ดูถึงตรงนี้แล้วอมยิ้มเลยค่ะ อยากคารวะผู้กำกับฯฮายาโอะ มิยาซากิ ซักสามจอก แท้จริงสถานที่นี้คือ "สถานที่ชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์" นั่นเอง คนเราทำได้โดยการปฏิบัติธรรมแต่จะให้สร้างสถานปฏิบัติธรรมในการ์ตูนมันก็ดูน่าเบื่อไปหน่อย ผู้กำกับฯมิยาซากิจึงสร้าง "โรงอาบน้ำ" เสียแทนซึ่งให้นัยยะเหมือนกัน โอ้...น่าทึ่งค่ะน่าทึ่ง
ผลงานของเซ็นช่วยให้แม่มดยูบาบะพอใจมาก แต่ก็ไม่นานเพราะเซ็นเชิญแขกที่น่ากลัวเข้ามาในโรงอาบน้ำเสียแล้ว แขกคนนั้นคือ "คาโอนาชิ" หรือผีไม่มีหน้า (แต่มีหน้ากาก) ซึ่งเข้ามาป่วนด้วยการเอาทองคำมาล่อเหล่าพนักงานในโรงอาบน้ำให้เอาอาหารมาให้กินจนตัวอ้วนพี สุดท้ายก็กินพนักงานเสียด้วยเลย ดูแล้วคาโอนาชิอยากเป็นเพื่อนกับเซ็นแต่เซ็นไม่ว่างเล่นด้วยเนื่องจากเธอต้องการช่วยฮาคุเด็กหนุ่มที่ช่วยเธอในตอนแรกด้วยการนำของที่ฮาคุขโมยจากแม่มด "เซนิบะ" พี่สาวฝาแฝดของยูบาบะไปคืนให้เร็วที่สุด
การผจญภัยยกสองของเซ็นเริ่มขึ้นเมื่อเธอต้องขึ้นรถไฟไปหาเซนิบะเพื่อคืนของพร้อมสหายอีก 3 หน่อ ประกอบด้วยคาโอนาชิที่สิ้นฤทธิ์ไปแล้ว กับ "โบ" หลานของยูบาบะที่ถูกเลี้ยงมาแบบขังไว้ในห้องไม่ให้ออกไปโลกภายนอกเพราะกลัวเชื้อโรคจะทำให้หลานป่วย โบถูกประคบประหงมจนยืนไม่ได้แม้ถึงวัยที่ควรเดินเองได้แล้ว อีกตัวคือนกที่ยูบาบะเลี้ยงไว้ให้ช่วยดูแลโบนั่นเอง การที่หลานหนีออกไปจากบ้านทำให้ยูบาบะตกใจมากและยอมทำข้อตกลงกับฮาคุเพื่อให้พาโบกลับมาแลกกับให้เซ็นและพ่อแม่กลับสู่โลกปกติเช่นเดิม
เนื้อเรื่องคร่าวๆ เพียงเท่านี้ค่ะ ถ้ามีซับไตเติ้ลดีๆ ที่อ่านรู้เรื่องรับรองว่าสนุกจนแทบกะพริบตาไม่ได้ งวดหน้ามาต่ออีกนิดว่านอกจากเนื้อเรื่องดี ภาพสวย บทแจ่ม ลำดับภาพเยี่ยม เพลงเพราะ มีรางวัลการันตี ทำรายได้ถล่มทลายในญี่ปุ่นและทั่วโลก ฯลฯ สิ่งที่ทำให้ Spirited Away กลายเป็นตัวแทนวัฒนธรรมแอนิเมชั่นของญี่ปุ่นในสายตาชาวโลกนอกเหนือจากการเอาหุ่นมาสู้กันแบบกันดั้ม หรือปล่อยพลังสู้กันแบบดราก้อนบอลล์คืออะไร งวดหน้าค่ะ
วันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11334 มติชนรายวัน
14 มีนาคม 2552
Mononoke Hime (2)
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วว่าด้วยแอนิเมชั่น (ภาพยนตร์การ์ตูน) ที่สร้างเมื่อปี 1997 โดยฮายาโอะ มิยาซากิและ Studio Ghibli ซึ่งเป็นแอนิเมชั่นที่ใช้ทุนสร้างสูงที่สุดในขณะนั้นและกวาดรายได้ถล่มบ๊อกซ์ออฟฟิศในญี่ปุ่นอย่างล้นหลาม การต่อสู้ของ 3 กลุ่ม ได้แก่ ธรรมชาติ, เหมืองแร่, และจักรพรรดิกลายเป็นนัยยะของการต่อสู้ระหว่างคนญี่ปุ่นยุคเก่าอนุรักษนิยม, คนญี่ปุ่นยุคใหม่ที่ทั้งเป็นทุนนิยมและวัตถุนิยม, และต่างชาติที่แอบแฝงมาในรูปมิตรแต่แท้จริงกลับกดดันด้วยการขอร้องโดยเอาปืนจ่อหัว เรื่องราวดำเนินมาถึงตอนที่ฝ่ายเหมืองแร่ซึ่งนำทีมโดย "เอโบชิ" ดูแล้วน่าจะเป็นฝ่ายธรรมะและผู้เสียผลประโยชน์ตอนต้นเรื่องกลับกลายเป็นฝ่ายที่รุกรานธรรมชาติจากการเป่าหูและหลอกใช้จากตัวแทนของจักรพรรดิ แม้เอโบชิต้องการตัดหัวเทพเจ้ากวางผู้ปกปักรักษาผืนป่าเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิแต่เธออ่านเกมพลาดไปหน่อยค่ะ ถ้าลองคิดดีๆ แล้วจักรพรรดิไม่สนทั้งความจงรักภักดีและหัวเทพเจ้ากวางหรอก จักรพรรดิอาจจะต้องการแค่ให้เอโบชิพินาศตอนจบจากการหันดาบเข้าสู้กับธรรมชาติก็ได้ เช่นเดียวกับคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่มองเห็นว่าวัตถุเป็นเรื่องสำคัญ การทำตามค่านิยมของต่างชาติก็เพื่อความอยู่ดีกินดีของคนทั้งประเทศและคนทำงานก็ควรได้รับผลตอบแทนแบบนี้มันผิดตรงไหน คนเหล่านี้ลืมไปว่าคนที่มาเป่าหูไม่ใช่มิตรแท้ค่ะ คนในชาติเดียวกันที่ต่อสู้กันอยู่ต่างหากคือมิตรที่อยู่เคียงข้างกันมาตลอด
การที่เอโบชิตัดสินใจเป็นศัตรูกับธรรมชาติเผยออกในตอนท้ายๆ ว่าเธอทำไปเพราะกลัวจักรพรรดินั่นเอง เธอปรารถนาจะทำธุรกิจอย่างสงบสุขต่อไปด้วยการหันไปแทงมิตรที่ไม่เคยให้โทษกับเธออย่างธรรมชาติและยอมปวารณาตัวเป็นข้ารับใช้คนที่หวังจะฆ่าเธอในตอนแรกอย่างจักรพรรดิเสียแทน เปรียบเหมือนเด็กรุ่นใหม่ที่ต่อว่าคนรุ่นเก่าว่า "หัวโบราณ" หรือ "ไม่ทันยุคสมัย" แล้วหันไปชื่นชมค่านิยมตะวันตกที่ทำงานแลกเงินและซื้อความสุขสบายด้วยเงินที่หามาค่ะ ฟังดูแล้วก็แฟร์ดีนะคะ แต่คนเหล่านี้ลืมคิดถึงตอนที่ตัวเองทำงานไม่ได้และกลายเป็นคนรุ่นเก่าบ้าง ถึงตอนนั้นเขาจะเรียกร้องอะไรจากเด็กยุคหลังในเมื่อตัวเองเป็นคนทำลายคุณค่าของตัวเองในอีก 50 ปีข้างหน้าไปเสียแล้ว จุดจบนี้นำเสนอด้วยความพินาศของเหมืองแร่ในเรื่องค่ะ หนึ่งในสาวเหมืองแร่พูดได้น่าประทับใจตอนที่ทุกคนมองดูเหมืองแร่ลุกท่วมด้วยไฟต่อหน้าต่อตาว่า "จะกลัวอะไร ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ก็สร้างใหม่ได้อยู่แล้ว" ถือเป็นการตอกตะปูปักลงในใจอีกว่าไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่า "ความอ่อนแอ" ของตัวเองค่ะ ตราบใดที่ยังเข้มแข็งทั้งกายและใจก็ย่อมลุกขึ้นยืนใหม่ได้เสมอ ในเมื่อหมดสิ้นที่ทางทำมาหากินแต่ยังมีแขนขาและเพื่อนพ้อง จะกลัวอะไรกับจักรพรรดิที่สุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเสียหน่อย ธรรมชาติต่างหากที่จะทำให้สร้างเหมืองและใช้ชีวิตต่อไปได้ในท้ายที่สุด
เกือบจะลืมกล่าวถึงความสำคัญของ "อาชิทากะ" พระเอกของเรื่องเสียแล้วค่ะ อาชิทากะน่าจะเป็นพระเอกไม่กี่คนของ Studio Ghibli ที่มีบทบาทมากกว่านางเอก แม้เขาจะไม่ได้มีเอกลักษณ์เป็นที่จดจำหรือดึงดูดให้เอาไปทำเป็นโปสเตอร์หนังเท่านางเอกอย่างซัน แต่นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องแล้วค่ะ อาชิทากะไม่ได้ปรากฏตัวในฐานะฮีโร่หรือต้องการให้คนจดจำ เขามาในฐานะ "ผู้ไกล่เกลี่ย" ซึ่งปลุกทุกคนให้มองเห็นความจริงว่าใครคือมิตรแท้และศัตรูจริงกันแน่ นอกจากนั้นอาชิทากะยังเป็น "ผู้ให้อภัย" เขามองเห็นว่าทุกคนมีเหตุผลที่ต้องทำผิดต่อผู้อื่น เขาไม่โทษใครเลยแต่เลือกที่จะช่วยทุกคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบค่ะ คนแบบนี้คือคนที่ผู้กำกับมิยาซากิเลือกให้มาปฏิวัติญี่ปุ่นนั่นเองคือนอกจากเก่งและมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องกล้าหาญและมีดวงตาที่มองเห็นความถูกผิดอย่างชัดเจนด้วยไม่แปลกใจเลยที่ดูโมโนโนเกะฮิเมะแล้วจะรู้สึกฮึกเหิมนิดๆ ในตอนจบค่ะ แอนิเมชั่นเรื่องนี้สร้างค่านิยมใหม่ในการกตัญญูขึ้นในจิตใต้สำนึกของคนดูอย่างแนบเนียนและน่าชื่นชมสมเป็นงานของฮายาโอะ มิยาซากิ ครั้งหนึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า "ต่อให้การทำแอนิเมชั่นใช้ CG (คอมพิวเตอร์กราฟิก) เข้ามาช่วยให้สะดวกสบายมากขึ้น แต่จงอย่าลืมกระดาษกับดินสอ" ไม่ได้หมายความว่าแอนิเมชั่นที่ดีต้องร่วมกันทั้งสองอย่างนะคะ เชื่อว่าผู้กำกับมิยาซากิไม่สนใจหรอกค่ะว่าแอนิเมชั่นจะสร้างจากอะไร แต่เขากำลังบอกว่างานที่ดีเกิดจากสมองและประสบการณ์ที่ประมวลออกมาจากมนุษย์ (เปรียบเหมือนกระดาษกับดินสอ) ไม่ใช่จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ (เปรียบเหมือน CG)
ฮายาโอะ มิยาซากิแห่ง Studio Ghibli จึงเป็นปราชญ์ผู้ทำให้มนุษย์มองเห็นคุณค่าในตัวมนุษย์ด้วยกันอย่างแท้จริงค่ะ
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11327 มติชนรายวัน
โดย วินิทรา นวลละออง
ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วว่าด้วยแอนิเมชั่น (ภาพยนตร์การ์ตูน) ที่สร้างเมื่อปี 1997 โดยฮายาโอะ มิยาซากิและ Studio Ghibli ซึ่งเป็นแอนิเมชั่นที่ใช้ทุนสร้างสูงที่สุดในขณะนั้นและกวาดรายได้ถล่มบ๊อกซ์ออฟฟิศในญี่ปุ่นอย่างล้นหลาม การต่อสู้ของ 3 กลุ่ม ได้แก่ ธรรมชาติ, เหมืองแร่, และจักรพรรดิกลายเป็นนัยยะของการต่อสู้ระหว่างคนญี่ปุ่นยุคเก่าอนุรักษนิยม, คนญี่ปุ่นยุคใหม่ที่ทั้งเป็นทุนนิยมและวัตถุนิยม, และต่างชาติที่แอบแฝงมาในรูปมิตรแต่แท้จริงกลับกดดันด้วยการขอร้องโดยเอาปืนจ่อหัว เรื่องราวดำเนินมาถึงตอนที่ฝ่ายเหมืองแร่ซึ่งนำทีมโดย "เอโบชิ" ดูแล้วน่าจะเป็นฝ่ายธรรมะและผู้เสียผลประโยชน์ตอนต้นเรื่องกลับกลายเป็นฝ่ายที่รุกรานธรรมชาติจากการเป่าหูและหลอกใช้จากตัวแทนของจักรพรรดิ แม้เอโบชิต้องการตัดหัวเทพเจ้ากวางผู้ปกปักรักษาผืนป่าเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อจักรพรรดิแต่เธออ่านเกมพลาดไปหน่อยค่ะ ถ้าลองคิดดีๆ แล้วจักรพรรดิไม่สนทั้งความจงรักภักดีและหัวเทพเจ้ากวางหรอก จักรพรรดิอาจจะต้องการแค่ให้เอโบชิพินาศตอนจบจากการหันดาบเข้าสู้กับธรรมชาติก็ได้ เช่นเดียวกับคนญี่ปุ่นรุ่นใหม่ที่มองเห็นว่าวัตถุเป็นเรื่องสำคัญ การทำตามค่านิยมของต่างชาติก็เพื่อความอยู่ดีกินดีของคนทั้งประเทศและคนทำงานก็ควรได้รับผลตอบแทนแบบนี้มันผิดตรงไหน คนเหล่านี้ลืมไปว่าคนที่มาเป่าหูไม่ใช่มิตรแท้ค่ะ คนในชาติเดียวกันที่ต่อสู้กันอยู่ต่างหากคือมิตรที่อยู่เคียงข้างกันมาตลอด
การที่เอโบชิตัดสินใจเป็นศัตรูกับธรรมชาติเผยออกในตอนท้ายๆ ว่าเธอทำไปเพราะกลัวจักรพรรดินั่นเอง เธอปรารถนาจะทำธุรกิจอย่างสงบสุขต่อไปด้วยการหันไปแทงมิตรที่ไม่เคยให้โทษกับเธออย่างธรรมชาติและยอมปวารณาตัวเป็นข้ารับใช้คนที่หวังจะฆ่าเธอในตอนแรกอย่างจักรพรรดิเสียแทน เปรียบเหมือนเด็กรุ่นใหม่ที่ต่อว่าคนรุ่นเก่าว่า "หัวโบราณ" หรือ "ไม่ทันยุคสมัย" แล้วหันไปชื่นชมค่านิยมตะวันตกที่ทำงานแลกเงินและซื้อความสุขสบายด้วยเงินที่หามาค่ะ ฟังดูแล้วก็แฟร์ดีนะคะ แต่คนเหล่านี้ลืมคิดถึงตอนที่ตัวเองทำงานไม่ได้และกลายเป็นคนรุ่นเก่าบ้าง ถึงตอนนั้นเขาจะเรียกร้องอะไรจากเด็กยุคหลังในเมื่อตัวเองเป็นคนทำลายคุณค่าของตัวเองในอีก 50 ปีข้างหน้าไปเสียแล้ว จุดจบนี้นำเสนอด้วยความพินาศของเหมืองแร่ในเรื่องค่ะ หนึ่งในสาวเหมืองแร่พูดได้น่าประทับใจตอนที่ทุกคนมองดูเหมืองแร่ลุกท่วมด้วยไฟต่อหน้าต่อตาว่า "จะกลัวอะไร ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่ก็สร้างใหม่ได้อยู่แล้ว" ถือเป็นการตอกตะปูปักลงในใจอีกว่าไม่มีอะไรน่ากลัวไปกว่า "ความอ่อนแอ" ของตัวเองค่ะ ตราบใดที่ยังเข้มแข็งทั้งกายและใจก็ย่อมลุกขึ้นยืนใหม่ได้เสมอ ในเมื่อหมดสิ้นที่ทางทำมาหากินแต่ยังมีแขนขาและเพื่อนพ้อง จะกลัวอะไรกับจักรพรรดิที่สุดท้ายก็ไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเสียหน่อย ธรรมชาติต่างหากที่จะทำให้สร้างเหมืองและใช้ชีวิตต่อไปได้ในท้ายที่สุด
เกือบจะลืมกล่าวถึงความสำคัญของ "อาชิทากะ" พระเอกของเรื่องเสียแล้วค่ะ อาชิทากะน่าจะเป็นพระเอกไม่กี่คนของ Studio Ghibli ที่มีบทบาทมากกว่านางเอก แม้เขาจะไม่ได้มีเอกลักษณ์เป็นที่จดจำหรือดึงดูดให้เอาไปทำเป็นโปสเตอร์หนังเท่านางเอกอย่างซัน แต่นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องแล้วค่ะ อาชิทากะไม่ได้ปรากฏตัวในฐานะฮีโร่หรือต้องการให้คนจดจำ เขามาในฐานะ "ผู้ไกล่เกลี่ย" ซึ่งปลุกทุกคนให้มองเห็นความจริงว่าใครคือมิตรแท้และศัตรูจริงกันแน่ นอกจากนั้นอาชิทากะยังเป็น "ผู้ให้อภัย" เขามองเห็นว่าทุกคนมีเหตุผลที่ต้องทำผิดต่อผู้อื่น เขาไม่โทษใครเลยแต่เลือกที่จะช่วยทุกคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบค่ะ คนแบบนี้คือคนที่ผู้กำกับมิยาซากิเลือกให้มาปฏิวัติญี่ปุ่นนั่นเองคือนอกจากเก่งและมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องกล้าหาญและมีดวงตาที่มองเห็นความถูกผิดอย่างชัดเจนด้วยไม่แปลกใจเลยที่ดูโมโนโนเกะฮิเมะแล้วจะรู้สึกฮึกเหิมนิดๆ ในตอนจบค่ะ แอนิเมชั่นเรื่องนี้สร้างค่านิยมใหม่ในการกตัญญูขึ้นในจิตใต้สำนึกของคนดูอย่างแนบเนียนและน่าชื่นชมสมเป็นงานของฮายาโอะ มิยาซากิ ครั้งหนึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า "ต่อให้การทำแอนิเมชั่นใช้ CG (คอมพิวเตอร์กราฟิก) เข้ามาช่วยให้สะดวกสบายมากขึ้น แต่จงอย่าลืมกระดาษกับดินสอ" ไม่ได้หมายความว่าแอนิเมชั่นที่ดีต้องร่วมกันทั้งสองอย่างนะคะ เชื่อว่าผู้กำกับมิยาซากิไม่สนใจหรอกค่ะว่าแอนิเมชั่นจะสร้างจากอะไร แต่เขากำลังบอกว่างานที่ดีเกิดจากสมองและประสบการณ์ที่ประมวลออกมาจากมนุษย์ (เปรียบเหมือนกระดาษกับดินสอ) ไม่ใช่จากเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ (เปรียบเหมือน CG)
ฮายาโอะ มิยาซากิแห่ง Studio Ghibli จึงเป็นปราชญ์ผู้ทำให้มนุษย์มองเห็นคุณค่าในตัวมนุษย์ด้วยกันอย่างแท้จริงค่ะ
วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11327 มติชนรายวัน
07 มีนาคม 2552
Mononoke Hime (1)
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
หลังจากได้ดูการ์ตูนที่มีกลิ่นความเชื่อของญี่ปุ่นโบราณอย่าง Natsume Yuujinchou และ Mushishi ไปแล้ว ความรู้สึกตื่นเต้นกับเรื่องเหนือธรรมชาติก็ยังไม่หมดค่ะ แอบเหล่ดูกองการ์ตูนที่ยังดูไม่จบก็สะดุดตากับ Mononoke Hime แอนิเมชั่น (ภาพยนตร์การ์ตูน) ของ Studio Ghibli ที่สร้างเมื่อปี 1997 และกวาดรายได้จากการฉายถล่มทลายในขณะนั้น นอกจากเป็นแอนิเมชั่นที่สร้างความฮือฮาในด้านเนื้อหาแล้ว โมโนโนเกะฮิเมะยังเป็นแอนิเมชั่นที่ใช้ทุนสร้างสูงที่สุดในญี่ปุ่นขณะนั้นด้วย แม้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิค (CG) จะก้าวหน้าขึ้นมาก แต่เรามักพบบ่อยๆ ว่า CG ที่ผสมกับเทคนิคการทำการ์ตูนแบบเก่าด้วย cel (แผ่นใส) หลายเรื่องให้ความรู้สึก "ไม่เนียน" และกลายเป็นงานที่ดูลูกผีลูกคนจนน่าหงุดหงิด แต่โมโนโนเกะฮิเมะไม่ได้เอาทุนสร้างไปถมทะเลค่ะ นี่คือแอนิเมชั่นที่ใช้เทคนิคดั้งเดิมผสมกับ CG ได้อย่างลงตัว สวย นุ่มนวล ลื่นไหล และแม้จะมีฉากธรรมชาติที่งดงามมากมายเราก็ไม่ได้เคลิ้มจนหลับขณะดูค่ะ
ย้อนกลับมาที่เนื้อเรื่องสักนิด โมโนโนเกะฮิเมะไม่ใช่ "การ์ตูนสำหรับเด็ก" นะคะ นี่คือภาพยนตร์ดีๆ เรื่องหนึ่งที่ไม่ได้ใช้คนแสดง แต่ใช้ตัวการ์ตูนแสดงค่ะ เนื้อเรื่องเล่าถึงการต่อสู้ของ 3 กลุ่ม ได้แก่ ฝ่ายธรรมชาติ, จักรพรรดิ, และชาวเหมืองแร่ แรกสุดเนื้อเรื่องโอนเอียงไปทางชาวเหมืองแร่นิดหน่อยเมื่อ "เอโบชิ" หญิงสาวเจ้าของเหมืองแร่เหล็กผูกขาดการค้าเหล็กชั้นดีและดูแลชาวเหมืองให้อยู่ดีมีสุขรวมถึงเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งชายหญิง หากเทียบกับเมืองอื่นๆ ซึ่งต้องเผชิญกับสงครามชิงดินแดนและเหล่าทหารกับซามูไรที่เข่นฆ่าชาวบ้านเป็นว่าเล่น เหมืองเหล็กแห่งนี้คือสวรรค์เพราะตราบใดที่ยังทำงานได้ ทุกคนก็จะมีข้าวกินและได้รับการยอมรับ เหมืองแร่ของเอโบชิจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ซึ่งงานคือสิ่งที่สำคัญพอๆ กับการรับประทานอาหาร เราจะสังเกตได้ว่าเหมืองแร่นี้แทบไม่มีภาพครอบครัวลูกเด็กเล็กแดงเลย ทุกคนล้วนแต่ทำงานและภูมิใจที่ได้เสียสละตัวเองเพื่องานส่วนรวมค่ะ
"ซัง" หรือโมโนโนเกะฮิเมะคือนางเอกของเรื่องนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายธรรมชาติค่ะ เธอต่อสู้กับเอโบชิเนื่องจากการทำเหมืองแร่ส่งผลให้ต้นไม้โดนโค่นทำลายไปมาก ซังเป็นเด็กสาวที่เติบโตจากการเลี้ยงดูของหมาป่าเทพเจ้าทำให้แม้เธอเป็นมนุษย์แต่เธอก็ปรารถนาจะยืนอยู่ฝ่ายธรรมชาติอย่างเต็มภาคภูมิ เธอเกลียดมนุษย์เช่นเดียวกับเผ่าพันธุ์สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าทุกตัวแต่การได้พบกับ "อาชิทากะ" พระเอกของเรื่องทำให้เธอเปลี่ยนความคิด อาชิทากะเดินทางตามหา "เทพเจ้ากวาง" ที่ดูแลป่าในแถบนี้เพื่อถอนคำสาปที่แขนขวาซึ่งเกิดจากความบ้าคลั่งของธรรมชาติ แม้อาชิทากะจะเข้าใจธรรมชาติแต่เขาก็ไม่ได้เกลียดมนุษย์แต่อย่างใด ซังจึงอาจเป็นตัวแทนของคนหัวเก่าและอนุรักษนิยมในญี่ปุ่นซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวขัดขวางความเจริญและอยู่ดีกินดีในตอนต้นเรื่องในระหว่างที่อาชิทากะคือคนที่มาเพื่อรักษาสมดุลทั้งมวลค่ะ นานๆ จะเห็น Studio Ghibli สร้างพระเอกที่โดดเด่นแบบนี้ออกมาซักที อาชิทากะน่าจะเป็นผู้ชายในฝันของสาวๆ เลยล่ะค่ะ เพราะนอกจากเขามีฝีมือแล้ว เขายังช่วยเหลือทุกคนโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังด้วย
แล้วจักรพรรดิมีบทบาทอย่างไร ในเรื่องจักรพรรดิต้องการเหล็กชั้นดีจากเหมืองของเอโบชิค่ะ (ยุคนั้นจักรพรรดิคือหัวหน้าแก๊งใหญ่สุด แต่ก็มีหัวเมืองใหญ่น้อยเป็นแก๊งเล็กๆ ที่ทำสงครามอยู่ด้วย ไม่ได้สงบสุขทั้งประเทศนะคะ) ไม่แน่ใจว่าต้องการผูกขาดเหล็กทั้งหมดหรือเปล่าแต่การกีดกันทางการค้ายุคนั้นไม่ได้เกิดจากกำแพงภาษี แต่เกิดจากแรงกดดันทางกายภาพ พูดง่ายๆ คือ จักรพรรดิยกทัพไปตีเหมืองน่ะค่ะ เอโบชิจึงตัดสินใจส่งของไปบรรณาการจักรพรรดิเพื่อให้เหมืองของตัวเองยังรอดอยู่ได้ และของบรรณาการคือศีรษะของเทพเจ้ากวางผู้ดูแลป่านั่นเอง จักรพรรดิจึงเปรียบเสมือน "ต่างชาติ" นี่ล่ะค่ะ คนกลุ่มนี้อาจทำลายญี่ปุ่นอย่างเงียบๆ ด้วยการยุยงให้คนรุ่นใหม่ฆ่าคนรุ่นเก่าทิ้งไปให้หมด เช่นเดียวกับที่จักรพรรดิส่ง "จิโกะ" หน่วยสืบราชการลับมาโน้มน้าวให้เอโบชิหันหน้าไปสู้กับธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง หว่านล้อมว่าเทพเจ้ากวางคือต้นเหตุที่ทำให้เหมืองของเธอโดนเล่นงานตลอด (ซึ่งซังและเหล่าสัตว์เทพก็เล่นงานเอโบชิจริงๆ) คนที่มองเกมของจักรพรรดิออกเป็นคนแรกคืออาชิทากะนั่นเองค่ะ เขาจึงช่วยทุกฝ่ายอย่างเต็มใจเพราะทราบดีว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นความผิดของใครแม้แต่จิโกะซึ่งก็ทำเพราะเจ้านายสั่งมาอีกที
ยังไม่จบแค่นี้นะคะ งวดหน้ามาเล่าต่อถึงความยิ่งใหญ่ของโมโนโนเกะฮิเมะและความสามารถในการปลุกอารมณ์ฮึกเหิมอย่างชาญฉลาดของฮายาโอะ มิยาซากิ แห่ง Studio Ghibli หลายคนวิจารณ์ว่านี่คือแอนิเมชั่นที่ปลุกจิตสำนึกรักธรรมชาติ แต่ไหงดูแล้วเหมือนปลุกความเป็นชาตินิยมเสียมากกว่าค่ะ
วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11320 มติชนรายวัน
โดย วินิทรา นวลละออง
หลังจากได้ดูการ์ตูนที่มีกลิ่นความเชื่อของญี่ปุ่นโบราณอย่าง Natsume Yuujinchou และ Mushishi ไปแล้ว ความรู้สึกตื่นเต้นกับเรื่องเหนือธรรมชาติก็ยังไม่หมดค่ะ แอบเหล่ดูกองการ์ตูนที่ยังดูไม่จบก็สะดุดตากับ Mononoke Hime แอนิเมชั่น (ภาพยนตร์การ์ตูน) ของ Studio Ghibli ที่สร้างเมื่อปี 1997 และกวาดรายได้จากการฉายถล่มทลายในขณะนั้น นอกจากเป็นแอนิเมชั่นที่สร้างความฮือฮาในด้านเนื้อหาแล้ว โมโนโนเกะฮิเมะยังเป็นแอนิเมชั่นที่ใช้ทุนสร้างสูงที่สุดในญี่ปุ่นขณะนั้นด้วย แม้ว่าการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิค (CG) จะก้าวหน้าขึ้นมาก แต่เรามักพบบ่อยๆ ว่า CG ที่ผสมกับเทคนิคการทำการ์ตูนแบบเก่าด้วย cel (แผ่นใส) หลายเรื่องให้ความรู้สึก "ไม่เนียน" และกลายเป็นงานที่ดูลูกผีลูกคนจนน่าหงุดหงิด แต่โมโนโนเกะฮิเมะไม่ได้เอาทุนสร้างไปถมทะเลค่ะ นี่คือแอนิเมชั่นที่ใช้เทคนิคดั้งเดิมผสมกับ CG ได้อย่างลงตัว สวย นุ่มนวล ลื่นไหล และแม้จะมีฉากธรรมชาติที่งดงามมากมายเราก็ไม่ได้เคลิ้มจนหลับขณะดูค่ะ
ย้อนกลับมาที่เนื้อเรื่องสักนิด โมโนโนเกะฮิเมะไม่ใช่ "การ์ตูนสำหรับเด็ก" นะคะ นี่คือภาพยนตร์ดีๆ เรื่องหนึ่งที่ไม่ได้ใช้คนแสดง แต่ใช้ตัวการ์ตูนแสดงค่ะ เนื้อเรื่องเล่าถึงการต่อสู้ของ 3 กลุ่ม ได้แก่ ฝ่ายธรรมชาติ, จักรพรรดิ, และชาวเหมืองแร่ แรกสุดเนื้อเรื่องโอนเอียงไปทางชาวเหมืองแร่นิดหน่อยเมื่อ "เอโบชิ" หญิงสาวเจ้าของเหมืองแร่เหล็กผูกขาดการค้าเหล็กชั้นดีและดูแลชาวเหมืองให้อยู่ดีมีสุขรวมถึงเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งชายหญิง หากเทียบกับเมืองอื่นๆ ซึ่งต้องเผชิญกับสงครามชิงดินแดนและเหล่าทหารกับซามูไรที่เข่นฆ่าชาวบ้านเป็นว่าเล่น เหมืองเหล็กแห่งนี้คือสวรรค์เพราะตราบใดที่ยังทำงานได้ ทุกคนก็จะมีข้าวกินและได้รับการยอมรับ เหมืองแร่ของเอโบชิจึงเปรียบเสมือนตัวแทนของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่ซึ่งงานคือสิ่งที่สำคัญพอๆ กับการรับประทานอาหาร เราจะสังเกตได้ว่าเหมืองแร่นี้แทบไม่มีภาพครอบครัวลูกเด็กเล็กแดงเลย ทุกคนล้วนแต่ทำงานและภูมิใจที่ได้เสียสละตัวเองเพื่องานส่วนรวมค่ะ
"ซัง" หรือโมโนโนเกะฮิเมะคือนางเอกของเรื่องนี้ซึ่งเป็นตัวแทนของฝ่ายธรรมชาติค่ะ เธอต่อสู้กับเอโบชิเนื่องจากการทำเหมืองแร่ส่งผลให้ต้นไม้โดนโค่นทำลายไปมาก ซังเป็นเด็กสาวที่เติบโตจากการเลี้ยงดูของหมาป่าเทพเจ้าทำให้แม้เธอเป็นมนุษย์แต่เธอก็ปรารถนาจะยืนอยู่ฝ่ายธรรมชาติอย่างเต็มภาคภูมิ เธอเกลียดมนุษย์เช่นเดียวกับเผ่าพันธุ์สัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าทุกตัวแต่การได้พบกับ "อาชิทากะ" พระเอกของเรื่องทำให้เธอเปลี่ยนความคิด อาชิทากะเดินทางตามหา "เทพเจ้ากวาง" ที่ดูแลป่าในแถบนี้เพื่อถอนคำสาปที่แขนขวาซึ่งเกิดจากความบ้าคลั่งของธรรมชาติ แม้อาชิทากะจะเข้าใจธรรมชาติแต่เขาก็ไม่ได้เกลียดมนุษย์แต่อย่างใด ซังจึงอาจเป็นตัวแทนของคนหัวเก่าและอนุรักษนิยมในญี่ปุ่นซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวขัดขวางความเจริญและอยู่ดีกินดีในตอนต้นเรื่องในระหว่างที่อาชิทากะคือคนที่มาเพื่อรักษาสมดุลทั้งมวลค่ะ นานๆ จะเห็น Studio Ghibli สร้างพระเอกที่โดดเด่นแบบนี้ออกมาซักที อาชิทากะน่าจะเป็นผู้ชายในฝันของสาวๆ เลยล่ะค่ะ เพราะนอกจากเขามีฝีมือแล้ว เขายังช่วยเหลือทุกคนโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชังด้วย
แล้วจักรพรรดิมีบทบาทอย่างไร ในเรื่องจักรพรรดิต้องการเหล็กชั้นดีจากเหมืองของเอโบชิค่ะ (ยุคนั้นจักรพรรดิคือหัวหน้าแก๊งใหญ่สุด แต่ก็มีหัวเมืองใหญ่น้อยเป็นแก๊งเล็กๆ ที่ทำสงครามอยู่ด้วย ไม่ได้สงบสุขทั้งประเทศนะคะ) ไม่แน่ใจว่าต้องการผูกขาดเหล็กทั้งหมดหรือเปล่าแต่การกีดกันทางการค้ายุคนั้นไม่ได้เกิดจากกำแพงภาษี แต่เกิดจากแรงกดดันทางกายภาพ พูดง่ายๆ คือ จักรพรรดิยกทัพไปตีเหมืองน่ะค่ะ เอโบชิจึงตัดสินใจส่งของไปบรรณาการจักรพรรดิเพื่อให้เหมืองของตัวเองยังรอดอยู่ได้ และของบรรณาการคือศีรษะของเทพเจ้ากวางผู้ดูแลป่านั่นเอง จักรพรรดิจึงเปรียบเสมือน "ต่างชาติ" นี่ล่ะค่ะ คนกลุ่มนี้อาจทำลายญี่ปุ่นอย่างเงียบๆ ด้วยการยุยงให้คนรุ่นใหม่ฆ่าคนรุ่นเก่าทิ้งไปให้หมด เช่นเดียวกับที่จักรพรรดิส่ง "จิโกะ" หน่วยสืบราชการลับมาโน้มน้าวให้เอโบชิหันหน้าไปสู้กับธรรมชาติเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง หว่านล้อมว่าเทพเจ้ากวางคือต้นเหตุที่ทำให้เหมืองของเธอโดนเล่นงานตลอด (ซึ่งซังและเหล่าสัตว์เทพก็เล่นงานเอโบชิจริงๆ) คนที่มองเกมของจักรพรรดิออกเป็นคนแรกคืออาชิทากะนั่นเองค่ะ เขาจึงช่วยทุกฝ่ายอย่างเต็มใจเพราะทราบดีว่าเรื่องนี้ไม่ได้เป็นความผิดของใครแม้แต่จิโกะซึ่งก็ทำเพราะเจ้านายสั่งมาอีกที
ยังไม่จบแค่นี้นะคะ งวดหน้ามาเล่าต่อถึงความยิ่งใหญ่ของโมโนโนเกะฮิเมะและความสามารถในการปลุกอารมณ์ฮึกเหิมอย่างชาญฉลาดของฮายาโอะ มิยาซากิ แห่ง Studio Ghibli หลายคนวิจารณ์ว่านี่คือแอนิเมชั่นที่ปลุกจิตสำนึกรักธรรมชาติ แต่ไหงดูแล้วเหมือนปลุกความเป็นชาตินิยมเสียมากกว่าค่ะ
วันที่ 08 มีนาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11320 มติชนรายวัน