คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
ชื่อ CLAMP กลายเป็นใบรับประกันไปแล้วค่ะว่าผลงานการ์ตูนที่ได้รับการออกแบบหรือสร้างสรรค์ขึ้นโดยกลุ่มนักเขียนหญิง 4 คนที่รวมตัวกันในนาม CLAMP จะเป็นผลงานที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและบอกถึงความเป็นตัวพวกเธอเอง นั่นคือพล็อตเรื่องมีเอกลักษณ์ แนวคิดอิงปรัชญา และทุกเรื่องสามารถยำรวมไว้ในจักรวาลแคลมป์ที่ให้ตัวละครจากต่างเรื่องเดินสวนไปมาในช่องเดียวกันอย่างไม่เคอะเขิน ผลงานของพวกเธอจึงพะยี่ห้อ "by CLAMP" ได้อย่างน่าภูมิใจค่ะ
โคบาโตะ" คือการ์ตูนอีกเรื่องที่ออกมาพักใหญ่ๆ แล้วของแคลมป์ มีผู้แปลเป็นภาษาอังกฤษให้อ่านฟรีทางอินเตอร์เน็ตมากมายก็ยังไม่เห็นสำนักพิมพ์ในไทยซื้อลิขสิทธิ์ไปเสียทีค่ะ จนกระทั่งมีสำนักพิมพ์ไพเรท (ไม่มีลิขสิทธิ์) ขอแซงพิมพ์ก่อนเลยต้องซื้อมาลองอ่านซักเล่ม แบบว่าอ่านเป็นภาษาอังกฤษก็ได้แต่ไม่อบอุ่นใจเท่าอ่านเวอร์ชั่นภาษาไทยค่ะ"โคบาโตะคือสาวน้อยลึกลับที่เปิดเรื่องมาเราก็ไม่รู้ว่าเธอเป็นใครมาจากไหนกันแน่ แต่ภารกิจสำคัญของเธอคือช่วยเยียวยาบาดแผลในใจของผู้คนเพื่อรวบรวมหัวใจที่มีทุกข์ใส่ขวดให้เต็ม สำเร็จเมื่อไรเธอจะได้ไปยังสถานที่ที่เธอต้องการ
เวทีนี้มีพี่เลี้ยงเป็นตุ๊กตาสุนัขพันธุ์เดียวกับสนูปี้ที่ดุ โหด และเข้มงวดกับโคบาโตะมากค่ะ เขาชื่อคุณอิโอเรียวกิซึ่งมีหน้าที่ให้คะแนนสำหรับภารกิจต่างๆ ที่โคบาโตะทำ สิบตอนแรกเหมือนเป็นการปูเรื่องไปเรื่อยๆ โดยไม่เห็นจุดหมายชัดเจน คือแม่หนูโคบาโตะก็ปฏิบัติภารกิจช่วยคนตามประสาเธอไปเรื่อยๆ แล้วลงท้ายด้วยการโดนตุ๊กตาคุณอิโอเรียวกิดุเอาน่ะค่ะ จะรู้สึกตื่นเต้นก็ตรงชุดของโคบาโตะที่หลากหลายและน่ารักจนอยากลองใส่ดูบ้าง มีปมนิดๆ หน่อยๆ ถูกวางโปรยไว้เหมือนตะปูเรือใบ เหยียบแล้วยางไม่แตก แต่เหยียบเยอะๆ เข้าก็ชักน่าสนใจจนต้องหยุดมองว่าแคลมป์กำลังจะนำเสนออะไรให้เรากันแน่
จนจบเล่มหนึ่ง อืม...ก็รู้สึกว่าเริ่มมีมิติลึกล้ำมากขึ้น ปมถูกผูกไว้เป็นระยะอย่างแยบยล แต่...มันเหมือนไม่ใช่จุดเด่นของเรื่องนี้ค่ะ!!!(CLAMPประกอบด้วย Ohkawa Ageha (leader; story,script),Apapa Mokona (lead artist; colorist),Nekoi Tsubaki (art assistant; chibi artist),และIgarashi Satsuki (design; art assistant)ภาพและข้อมูลจาก : http://www.mangaupdates.com/authors.html?id=208)
มีบางอย่างใน "โคบาโตะ" ที่แม้จะเรียบง่าย ลื่นไหล เนิบนาบหรืออาจเรียกด้วยภาษาชาวบ้านว่า "งั้นๆ" กลับทำให้รู้สึกว่าเปิดอ่านอีกกี่รอบก็สดชื่นค่ะ นั่งพลิกแล้วคิดอยู่หลายรอบมากจึงได้ข้อสรุปว่าเป็นเพราะ "รอยยิ้ม" ของโคบาโตะนี่เอง
สิ่งที่ชอบที่สุดของการ์ตูนเรื่องนี้และคิดว่าทำให้ดอกไม้เล็กๆ บานในหัวใจคือรอยยิ้มและความน่ารักของโคบาโตะนี่ล่ะค่ะ แม้เธอต้องใช้ความพยายามอย่างสูงในการ "ทำความดี" แต่เธอกลับแทบไม่ต้องใช้ความพยายามในการ "มองโลกในแง่ดี" เลย โคบาโตะไปทำงานพิเศษที่ร้านเค้กและได้ค่าจ้างเป็นขนมเค้กที่เธอต้องการ ใบหน้าและแววตาดีใจชวนให้ยิ้มตามจนแก้มป่องเลยค่ะ แต่พอเธอถือเค้กกลับบ้านก็เจอคุณแม่ที่สัญญาว่าจะซื้อเค้กให้ลูกชายแต่ซื้อไม่ทัน โคบาโตะจึงยกเค้กให้และมองดูหิมะด้วยรอยยิ้มเสียแทน อ่านแล้วก็ยิ้มตามจนแก้มป่องเริ่มปริ แม้ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นดังคาดหรือผิดหวัง โคบาโตะก็รู้จักเลือกมองสิ่งที่ทำให้จิตใจผ่อนคลายมากกว่าจะเก็บมาคิดแล้วปวดหัวไม่เป็นเรื่องดังนั้น จะอ่านโคบาโตะให้สนุกคงต้องอ่านโดยไม่คาดหวังถึงพล็อตอันซับซ้อนเสียก่อนนะคะ เล่มหลังๆ อาจมีแต่ไม่ใช่ในเล่มแรกแน่ๆ เพียงแต่อ่านแล้วสนุกไปกับรอยยิ้มของโคบาโตะ มองโลกอย่างที่โคบาโตะมอง ยิ้มเมื่อโคบาโตะยิ้ม ก็จะรู้สึกว่าซื้อมาคุ้มเงินแล้วค่ะ
สรุปว่าเป็นการ์ตูนขายรอยยิ้ม เหมือนเป็นรอยยิ้มกึ่งสำเร็จรูปบรรจุหนังสือการ์ตูนที่อ่านแล้วจะอยากยิ้มตามแล้วก็คิดในใจว่า "น่ารักจัง"
จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11096
26 กรกฎาคม 2551
19 กรกฎาคม 2551
ครอบครัว5+โฮ่ง
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นการ์ตูนเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นสัตว์เลี้ยงจริงๆ ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่มีชีวิตจิตใจอย่างการ์ฟิลด์ซึ่งเป็นการนำเสนอมุมมองของมนุษย์ผ่านสัตว์เลี้ยงค่ะ โดยส่วนตัวไม่ได้เลี้ยงสัตว์แบบชาวบ้านอย่างสุนัข แมว หรือนก แต่เลี้ยงเต่า กินง่าย เลี้ยงง่าย และน่ารักด้วยค่ะ
แม้จะเคยเห็นหลายคนเลี้ยงสุนัขแล้วดูแลเป็นอย่างดี แต่ประสบการณ์ไม่ดีที่เห็นคนเลี้ยงสุนัขก็มีมากเสียจนขยาด ตั้งแต่คนแถวบ้านจูงสุนัขมาแล้วให้ถ่ายตรงพื้นที่สาธารณะข้างบ้านเรา หรือเลี้ยงไม่ไหวก็แอบเอามาปล่อยทั้งที่ปลอกคอยังติดอยู่ ดูแล้วก็รู้สึกโกรธว่าทำไมเขาเลี้ยงแล้วไม่ตั้งใจดูแลดีๆ ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของตัวเองเป็นภาระให้คนอื่น
บ่นๆ เรื่องเจ้าของไม่รับผิดชอบสักนิด แต่ที่จริงคนที่รักและดูแลสัตว์เลี้ยงเหมือนลูกแท้ๆ ก็มีมากเหมือนกัน (เชื่อว่ามากกว่าเจ้าของที่เลี้ยงทิ้งเลี้ยงขว้าง) โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะทิ้งขว้าง ปล่อยให้สร้างความเดือดร้อนหรือเลี้ยงไม่ไหวก็ปล่อยวัดแบบคนไทยไม่ได้ มาแอบดูเขาเลี้ยงสุนัขในการ์ตูนเรื่องนี้ดีกว่าค่ะ
"5 + โฮ่ง = 6" คือการ์ตูนสัตว์เลี้ยงที่อ่านแล้วเกิดอาการ "เข้าถึง" อย่างประหลาด ตัวเอกของเรื่องนี้คือลูกสุนัขชื่อ "โรคุ" (แปลว่า 6) เพราะเป็นสมาชิกลำดับที่หกของครอบครัว โรคุถูกนำมาทิ้งไว้หน้าบ้านของครอบครัวคาวาระซึกะซึ่งทำธุรกิจขายหินประดับ ห้าคนในบ้านประกอบด้วยคุณตาแสนดุและคุณยายใจดี คุณพ่อเขยแต่งเข้าบ้านท่าทางไม่แข็งแรง แต่ก็ยังช่วยดูแลกิจการขายหินกับคุณแม่ลูกสาวของบ้านนี้ ลูกสาวคนเดียวซึ่งเป็นคนพบโรคุชื่อโคโตมิค่ะ
โคโตมิยังเป็นเด็กประถมและอยากได้ลูกสุนัขมากๆ เพราะเธอเคยเห็นสุนัขของเพื่อนทั้งเชื่องและน่ารัก แต่เสียดายที่คุณตาไม่เห็นด้วย ถึงอย่างนั้นสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวก็ยังเอ็นดูโรคุอยู่มาก ปัญหาสำคัญคือโรคุ "มองแทบไม่เห็น" เนื่องจากมีปัญหาที่เรติน่าแต่กำเนิด ดังนั้น ความหวังของโคโตมิที่จะพาโรคุออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน โยนลูกบอลแล้วให้วิ่งไปเก็บจึงไม่มีทางเป็นไปได้
สัตวแพทย์ที่ตรวจโรคุก็ทราบถึงความคาดหวังของเด็กๆ ได้ดี เขาเสนอทางช่วยให้โรคุไปสบายโดยไม่เป็นภาระให้คนอื่นๆ พูดง่ายๆ คือ ฉีดยาให้เสียชีวิตนะค่ะ แต่สุดท้ายคุณพ่อก็ตัดสินใจเลี้ยงโรคุไว้ เพราะเขาไม่คิดว่าโรคุเป็นสัตว์เลี้ยงของเล่นเอาไว้ดูน่ารักเพลินๆ แต่โรคุเป็นสมาชิกคนที่ 6 ของบ้านที่ควรได้รับการเอาใจใส่เหมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ซาบซึ้งค่ะ แต่นี่แค่การเริ่มต้นของอุปสรรคอีกเป็นกระบุง
การมองไม่เห็นของโรคุส่งผลให้โคโตมิจังเรียกเท่าไหร่มันก็ไม่ยอมเดิน อึฉี่ก็ไม่เป็นที่เพราะไม่รู้ว่าห้องน้ำอยู่ไหน เดินชนข้าวของทั่วบ้านจนต้องเอาฟองน้ำบุขาโต๊ะเก้าอี้ไว้ทั่ว แถมไม่ระวังให้ดีก็เดินตกพื้นต่างระดับจนเจ็บตัว ขึ้นบันไดก็ไม่ได้เพราะกะระยะไม่ถูก ยิ่งอ่านยิ่งเศร้าแทนค่ะ แม้จะรู้ว่าไม่ใช่ความผิดของโรคุแต่ก็รู้สึกสงสารทุกคนในบ้านคาวาระซึกะขึ้นมาจับใจ เพราะต้องคอยห่วงคอยระวังทุกฝีก้าวของโรคุจนแทบไม่ได้ทำอย่างอื่น
แต่โรคุเป็นสุนัขฉลาด เพียงไม่นานหลังพยายามฝึกฝนก็สามารถจำกลิ่นคนในบ้านได้ จำสถานที่ตั้งของเฟอร์นิเจอร์ได้และไม่เดินชนอีก ที่สำคัญคือโรคุเองไม่เคยยอมแพ้และกลัวจนนอนอยู่เฉยๆ มันยังคงวิ่งและยอมเจ็บตัวทดลองหลายสิ่งหลายอย่างตามประสาสุนัขและเรียนรู้ให้มากที่สุด ผลคือทุกคนในบ้านยิ่งรักและผูกพันกับโรคุมากขึ้นค่ะ ไม่จำเป็นต้องวิ่งเล่นเก็บบอลเหมือนสุนัขทั่วๆ ไป และไม่จำเป็นต้องเป็นสุนัขชั้นเลิศที่เก่งกาจทุกอย่าง แต่แค่โรคุเป็นหนึ่งในสมาชิกของบ้านก็เพียงพอที่จะได้รับความรักแล้วค่ะ
อ่านจบแล้ววิ่งไปดูเจ้า "แสบแสบ" เต่าญี่ปุ่นที่บ้านเลยค่ะ เลี้ยงไว้ตั้งแต่ตัวเท่าเหรียญสิบจนตอนนี้ใหญ่เท่าฝ่ามือแล้ว ยิ่งดูก็ยิ่งน่ารัก ถึงเวลาอาหารทีไรก็จะยืดคอแล้วพยายามปีนกะละมังทักทายทุกทีค่ะ ว่างเมื่อไรเป็นได้ปีนหินขึ้นมานอนอาบแดด แม้จะคุยกันไม่รู้เรื่องหรือเอามากอดไม่ได้ (เดี๋ยวเปียก) แต่สัตว์เลี้ยงก็ทำให้หัวใจรู้สึกอ่อนโยนและผ่อนคลายมากจริงๆ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เลี้ยงสุนัขแล้วอยากให้ลูกๆ รักและดูแลสัตว์เลี้ยงบ้าง การ์ตูนเรื่องนี้น่าจะช่วยได้ดีเลยค่ะ
จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11089
ขอแสดงความยินดีที่คุณหมอวินิทรา จะต้องเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศในสิ้นเดือนนี้
สร้าง Comment ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง..คลิ๊กที่นี่
โดย วินิทรา นวลละออง
ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นการ์ตูนเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นสัตว์เลี้ยงจริงๆ ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงที่มีชีวิตจิตใจอย่างการ์ฟิลด์ซึ่งเป็นการนำเสนอมุมมองของมนุษย์ผ่านสัตว์เลี้ยงค่ะ โดยส่วนตัวไม่ได้เลี้ยงสัตว์แบบชาวบ้านอย่างสุนัข แมว หรือนก แต่เลี้ยงเต่า กินง่าย เลี้ยงง่าย และน่ารักด้วยค่ะ
แม้จะเคยเห็นหลายคนเลี้ยงสุนัขแล้วดูแลเป็นอย่างดี แต่ประสบการณ์ไม่ดีที่เห็นคนเลี้ยงสุนัขก็มีมากเสียจนขยาด ตั้งแต่คนแถวบ้านจูงสุนัขมาแล้วให้ถ่ายตรงพื้นที่สาธารณะข้างบ้านเรา หรือเลี้ยงไม่ไหวก็แอบเอามาปล่อยทั้งที่ปลอกคอยังติดอยู่ ดูแล้วก็รู้สึกโกรธว่าทำไมเขาเลี้ยงแล้วไม่ตั้งใจดูแลดีๆ ปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของตัวเองเป็นภาระให้คนอื่น
บ่นๆ เรื่องเจ้าของไม่รับผิดชอบสักนิด แต่ที่จริงคนที่รักและดูแลสัตว์เลี้ยงเหมือนลูกแท้ๆ ก็มีมากเหมือนกัน (เชื่อว่ามากกว่าเจ้าของที่เลี้ยงทิ้งเลี้ยงขว้าง) โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นซึ่งจะทิ้งขว้าง ปล่อยให้สร้างความเดือดร้อนหรือเลี้ยงไม่ไหวก็ปล่อยวัดแบบคนไทยไม่ได้ มาแอบดูเขาเลี้ยงสุนัขในการ์ตูนเรื่องนี้ดีกว่าค่ะ
"5 + โฮ่ง = 6" คือการ์ตูนสัตว์เลี้ยงที่อ่านแล้วเกิดอาการ "เข้าถึง" อย่างประหลาด ตัวเอกของเรื่องนี้คือลูกสุนัขชื่อ "โรคุ" (แปลว่า 6) เพราะเป็นสมาชิกลำดับที่หกของครอบครัว โรคุถูกนำมาทิ้งไว้หน้าบ้านของครอบครัวคาวาระซึกะซึ่งทำธุรกิจขายหินประดับ ห้าคนในบ้านประกอบด้วยคุณตาแสนดุและคุณยายใจดี คุณพ่อเขยแต่งเข้าบ้านท่าทางไม่แข็งแรง แต่ก็ยังช่วยดูแลกิจการขายหินกับคุณแม่ลูกสาวของบ้านนี้ ลูกสาวคนเดียวซึ่งเป็นคนพบโรคุชื่อโคโตมิค่ะ
โคโตมิยังเป็นเด็กประถมและอยากได้ลูกสุนัขมากๆ เพราะเธอเคยเห็นสุนัขของเพื่อนทั้งเชื่องและน่ารัก แต่เสียดายที่คุณตาไม่เห็นด้วย ถึงอย่างนั้นสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวก็ยังเอ็นดูโรคุอยู่มาก ปัญหาสำคัญคือโรคุ "มองแทบไม่เห็น" เนื่องจากมีปัญหาที่เรติน่าแต่กำเนิด ดังนั้น ความหวังของโคโตมิที่จะพาโรคุออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน โยนลูกบอลแล้วให้วิ่งไปเก็บจึงไม่มีทางเป็นไปได้
สัตวแพทย์ที่ตรวจโรคุก็ทราบถึงความคาดหวังของเด็กๆ ได้ดี เขาเสนอทางช่วยให้โรคุไปสบายโดยไม่เป็นภาระให้คนอื่นๆ พูดง่ายๆ คือ ฉีดยาให้เสียชีวิตนะค่ะ แต่สุดท้ายคุณพ่อก็ตัดสินใจเลี้ยงโรคุไว้ เพราะเขาไม่คิดว่าโรคุเป็นสัตว์เลี้ยงของเล่นเอาไว้ดูน่ารักเพลินๆ แต่โรคุเป็นสมาชิกคนที่ 6 ของบ้านที่ควรได้รับการเอาใจใส่เหมือนเป็นลูกคนหนึ่ง ซาบซึ้งค่ะ แต่นี่แค่การเริ่มต้นของอุปสรรคอีกเป็นกระบุง
การมองไม่เห็นของโรคุส่งผลให้โคโตมิจังเรียกเท่าไหร่มันก็ไม่ยอมเดิน อึฉี่ก็ไม่เป็นที่เพราะไม่รู้ว่าห้องน้ำอยู่ไหน เดินชนข้าวของทั่วบ้านจนต้องเอาฟองน้ำบุขาโต๊ะเก้าอี้ไว้ทั่ว แถมไม่ระวังให้ดีก็เดินตกพื้นต่างระดับจนเจ็บตัว ขึ้นบันไดก็ไม่ได้เพราะกะระยะไม่ถูก ยิ่งอ่านยิ่งเศร้าแทนค่ะ แม้จะรู้ว่าไม่ใช่ความผิดของโรคุแต่ก็รู้สึกสงสารทุกคนในบ้านคาวาระซึกะขึ้นมาจับใจ เพราะต้องคอยห่วงคอยระวังทุกฝีก้าวของโรคุจนแทบไม่ได้ทำอย่างอื่น
แต่โรคุเป็นสุนัขฉลาด เพียงไม่นานหลังพยายามฝึกฝนก็สามารถจำกลิ่นคนในบ้านได้ จำสถานที่ตั้งของเฟอร์นิเจอร์ได้และไม่เดินชนอีก ที่สำคัญคือโรคุเองไม่เคยยอมแพ้และกลัวจนนอนอยู่เฉยๆ มันยังคงวิ่งและยอมเจ็บตัวทดลองหลายสิ่งหลายอย่างตามประสาสุนัขและเรียนรู้ให้มากที่สุด ผลคือทุกคนในบ้านยิ่งรักและผูกพันกับโรคุมากขึ้นค่ะ ไม่จำเป็นต้องวิ่งเล่นเก็บบอลเหมือนสุนัขทั่วๆ ไป และไม่จำเป็นต้องเป็นสุนัขชั้นเลิศที่เก่งกาจทุกอย่าง แต่แค่โรคุเป็นหนึ่งในสมาชิกของบ้านก็เพียงพอที่จะได้รับความรักแล้วค่ะ
อ่านจบแล้ววิ่งไปดูเจ้า "แสบแสบ" เต่าญี่ปุ่นที่บ้านเลยค่ะ เลี้ยงไว้ตั้งแต่ตัวเท่าเหรียญสิบจนตอนนี้ใหญ่เท่าฝ่ามือแล้ว ยิ่งดูก็ยิ่งน่ารัก ถึงเวลาอาหารทีไรก็จะยืดคอแล้วพยายามปีนกะละมังทักทายทุกทีค่ะ ว่างเมื่อไรเป็นได้ปีนหินขึ้นมานอนอาบแดด แม้จะคุยกันไม่รู้เรื่องหรือเอามากอดไม่ได้ (เดี๋ยวเปียก) แต่สัตว์เลี้ยงก็ทำให้หัวใจรู้สึกอ่อนโยนและผ่อนคลายมากจริงๆ
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่เลี้ยงสุนัขแล้วอยากให้ลูกๆ รักและดูแลสัตว์เลี้ยงบ้าง การ์ตูนเรื่องนี้น่าจะช่วยได้ดีเลยค่ะ
จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11089
ขอแสดงความยินดีที่คุณหมอวินิทรา จะต้องเดินทางไปศึกษาต่อต่างประเทศในสิ้นเดือนนี้
สร้าง Comment ง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง..คลิ๊กที่นี่
12 กรกฎาคม 2551
ซัมโปะ จอมคนแห่งขุนเขา
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
กิจกรรม "ปีนเขา" เป็นกิจกรรมที่พูดถึงทีไรก็รู้สึกทึ่งในความสามารถของมนุษย์ทุกครั้งค่ะ จากสายตาของมนุษย์ที่เดินขึ้นบันไดชั้นเดียวก็หายใจไม่ทันอย่างตัวเองแล้ว ปีนเขานั้นยากพอๆ กับให้ไปดวงจันทร์เลยทีเดียว เพราะนอกจากจะหายใจไม่ทันจนแทบขาดใจ กลับมาบ้านยังตะคริวกินขาแถมปวดจนเดินไม่ได้ไปอีกหลายวัน
แต่บางคนกลับชอบกิจกรรมขึ้นที่สูงอย่างนี้มากค่ะ "ซัมโปะ" พระเอกของเรื่องนี้คืออีกหนึ่งคนที่หลงใหลภูเขาและกินนอนอยู่บนนั้นเสมือนทิวเขาเป็นบ้านและท้องผ้าเป็นผ้าห่ม
"ซัมโปะ" เป็นอาสาสมัครกู้ภัยบนภูเขาที่ปีนเขามาแล้วหลายประเทศ เขาได้รับการขอร้องจากหน่วยกู้ภัยของสถานีตำรวจของจังหวัดนางาโนะบ่อยๆ เนื่องจากหลายครั้งนักปีนเขาก็กลับลงมาช้ากว่ากำหนดและทางหน่วยกู้ภัยก็มีข้อจำกัดเรื่องดินฟ้าอากาศหลายอย่างจึงไม่สามารถบุกขึ้นเขาไปช่วยได้ทุกราย ซัมโปะซึ่งแทบจะกินนอนอยู่บนภูเขาจึงเป็นหน่วยกู้ภัยที่พึ่งพาได้เสมอ
ตอนที่ชอบที่สุดคือ "สายฟ้า" ค่ะ อ่านแล้วซึ้งจนแทบอยากไปฝึกปีนเขาเลยทีเดียว เรื่องของเรื่องคือ "ชีนะ คุมิ" สาวน้อยสังกัดหน่วยกู้ภัยของสถานีตำรวจนางาโนะกำลังฝึกปีนหน้าผาแนวดิ่งโดยมีซัมโปะเป็นผู้ฝึกสอนให้ หน้าผาแนวดิ่งที่ว่าก็ฝาบ้านดีๆ นี่เองค่ะ ถ้าไม่ใช่คนแข็งแรง ใจกล้า และมือเหนียวเทียบเท่าจิ้งจก รับรองว่าปีนไม่ได้แน่นนอน
ชีนะปีนไปได้ระยะหนึ่งจนถึงเวลา 11 โมงซึ่งฟ้ายังสดใส ซัมโปะกลับบอกว่าได้เวลารีบลงเขาแล้ว แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มที่ปีนขึ้นไปก่อนประสบอุบัติเหตุ ทำให้คนหนึ่งเสียชีวิตเพราะตกลงมาศีรษะกระแทกหินและห้อยต่องแต่งอยู่กับเชือกเซฟ สาเหตุที่ต้องรีบลงเพราะจะมีเมฆฝนลอยมาในช่วงบ่าย แต่ซัมโปะก็อยากช่วยคนที่รอดชีวิตอีกคนหนึ่ง อยากพาศพผู้เสียชีวิตลงไปด้วย แต่ก็ติดที่ต้องคอยดูแลชีนะซึ่งขาดประสบการณ์ เป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเลยค่ะ
ในที่สุดซัมโปะก็เลือกทำทุกอย่างตามที่แฟนการ์ตูนเฝ้ารอ
ลองนั่งคิดดูว่าเพราะอะไรอ่านถึงตรงนี้แล้วประทับใจในตัวซัมโปะมากๆ จังเลย ไม่ใช่เพราะเขาเป็นฮีโร่บ้าบิ่นอยากช่วยก็ช่วยนะคะ แต่เพราะเขาได้ศึกษาดินฟ้าอากาศและภูมิประเทศพร้อมกับเตรียมตัวมาอย่างดี ประเมินความสามารถของตนเองและความสามารถของคนอื่นว่าพอทำได้แล้วจึงตัดสินใจ ไม่ได้พร่ำเพรื่อช่วย นี่คือสิ่งที่น่าประทับใจค่ะ
ในที่สุดซัมโปะก็เก็บร่างของผู้เสียชีวิตได้ เขาปีนขึ้นไปแจ้งข่าวที่น่าเสียใจกับนักปีนเขาอีกคนที่นั่งซ่อนตัวเตรียมหลบฝนอยู่ในรอยแยกของหน้าผาและให้ชีนะรีบปีนตามขึ้นมา แต่แหม...นั่งปลอดภัยอยู่ในรอยแยกแล้วใครจะยอมออกมา ในที่สุดซัมโปะก็ตัดสินใจบอกความจริงว่าสายฟ้าบนภูเขาสูงไม่ใช่สายฟ้าที่เราเห็นบนพื้นราบ เพราะมันไม่ได้พุ่งลงพื้น แต่พุ่งแนวขวางไปชนหน้าผาได้ด้วยค่ะ (น่ากลัวมาก อ่านแล้วอินเลยค่ะ) ที่สำคัญคือสายฟ้าชอบวิ่งผ่านรอยแยกเป็นพิเศษ ดังนั้นรอยแยกจึงกลายเป็นสถานที่อันตรายที่สุดยามที่ฝนตกอย่างไม่ต้องสงสัย
เท่านั้นยังไม่พอ สายฟ้าวิ่งผ่านเชือกได้ด้วย หากทุกคนมีเชือกเซฟเชื่อมกันหมดแล้ว แม้โดนผ่าคนเดียวที่เหลือก็จะกลายเป็นไก่ย่างไปด้วย การหลบสายฟ้าจึงทำด้วยความหวาดเสียวสุดขีด คือยืนบนชะง่อนผาที่มีความกว้างแค่รองเท้าคู่เดียว หันหน้าพิงหน้าผาและรอจนกระทั่งเมฆฝนผ่านไป...เฮ้อ...น่ากลัว แม้ซัมโปะจะกลัวจนตัวสั่น แต่ในฐานะผู้มีประสบการณ์ เขาตั้งสติและวางแผนเพื่อความปลอดภัยของทุกคนเป็นอย่างดี ผลลัพธ์ก็คือทุกคนรอดตาย
"ซัมโปะ จอมคนแห่งขุนเขา" ไม่ใช่เรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจให้อยากปีนขึ้นไปเอาชนะขุนเขาเท่านั้น การเตรียมตัวอย่างดี ศึกษาอันตรายทุกอย่างก่อนลงมือทำโดยไม่ประมาท และตั้งสติทุกวินาทีที่เหยียบย่างเข้าไปในดินแดนที่ธรรมชาติยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์คือสิ่งสำคัญที่เรื่องนี้มอบให้ รู้สึกว่าสิ่งท้าทายในโลกก็ไม่ได้น่ากลัวหากเราเตรียมการไว้ให้พร้อมนะคะ
เห็นทีต้องเจอกันหน่อยแล้วนะภูเขา บ้าเห่อถึงขนาดไปซื้อรองเท้าสำหรับลุยพื้นที่ขรุขระมาแล้วค่ะ แต่...ปีนเขาจริงๆ ทั้งที่เดินขึ้นบันไดยังเหนื่อยก็เหมือนฆ่าตัวตาย เอาเป็นว่าขอฝึกเดินขึ้นห้องทำงานชั้น 7 ก่อนแล้วกัน แล้วค่อยเจอกันนะภูเขา!
จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11082
โดย วินิทรา นวลละออง
กิจกรรม "ปีนเขา" เป็นกิจกรรมที่พูดถึงทีไรก็รู้สึกทึ่งในความสามารถของมนุษย์ทุกครั้งค่ะ จากสายตาของมนุษย์ที่เดินขึ้นบันไดชั้นเดียวก็หายใจไม่ทันอย่างตัวเองแล้ว ปีนเขานั้นยากพอๆ กับให้ไปดวงจันทร์เลยทีเดียว เพราะนอกจากจะหายใจไม่ทันจนแทบขาดใจ กลับมาบ้านยังตะคริวกินขาแถมปวดจนเดินไม่ได้ไปอีกหลายวัน
แต่บางคนกลับชอบกิจกรรมขึ้นที่สูงอย่างนี้มากค่ะ "ซัมโปะ" พระเอกของเรื่องนี้คืออีกหนึ่งคนที่หลงใหลภูเขาและกินนอนอยู่บนนั้นเสมือนทิวเขาเป็นบ้านและท้องผ้าเป็นผ้าห่ม
"ซัมโปะ" เป็นอาสาสมัครกู้ภัยบนภูเขาที่ปีนเขามาแล้วหลายประเทศ เขาได้รับการขอร้องจากหน่วยกู้ภัยของสถานีตำรวจของจังหวัดนางาโนะบ่อยๆ เนื่องจากหลายครั้งนักปีนเขาก็กลับลงมาช้ากว่ากำหนดและทางหน่วยกู้ภัยก็มีข้อจำกัดเรื่องดินฟ้าอากาศหลายอย่างจึงไม่สามารถบุกขึ้นเขาไปช่วยได้ทุกราย ซัมโปะซึ่งแทบจะกินนอนอยู่บนภูเขาจึงเป็นหน่วยกู้ภัยที่พึ่งพาได้เสมอ
ตอนที่ชอบที่สุดคือ "สายฟ้า" ค่ะ อ่านแล้วซึ้งจนแทบอยากไปฝึกปีนเขาเลยทีเดียว เรื่องของเรื่องคือ "ชีนะ คุมิ" สาวน้อยสังกัดหน่วยกู้ภัยของสถานีตำรวจนางาโนะกำลังฝึกปีนหน้าผาแนวดิ่งโดยมีซัมโปะเป็นผู้ฝึกสอนให้ หน้าผาแนวดิ่งที่ว่าก็ฝาบ้านดีๆ นี่เองค่ะ ถ้าไม่ใช่คนแข็งแรง ใจกล้า และมือเหนียวเทียบเท่าจิ้งจก รับรองว่าปีนไม่ได้แน่นนอน
ชีนะปีนไปได้ระยะหนึ่งจนถึงเวลา 11 โมงซึ่งฟ้ายังสดใส ซัมโปะกลับบอกว่าได้เวลารีบลงเขาแล้ว แต่เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นเมื่อกลุ่มที่ปีนขึ้นไปก่อนประสบอุบัติเหตุ ทำให้คนหนึ่งเสียชีวิตเพราะตกลงมาศีรษะกระแทกหินและห้อยต่องแต่งอยู่กับเชือกเซฟ สาเหตุที่ต้องรีบลงเพราะจะมีเมฆฝนลอยมาในช่วงบ่าย แต่ซัมโปะก็อยากช่วยคนที่รอดชีวิตอีกคนหนึ่ง อยากพาศพผู้เสียชีวิตลงไปด้วย แต่ก็ติดที่ต้องคอยดูแลชีนะซึ่งขาดประสบการณ์ เป็นสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกเลยค่ะ
ในที่สุดซัมโปะก็เลือกทำทุกอย่างตามที่แฟนการ์ตูนเฝ้ารอ
ลองนั่งคิดดูว่าเพราะอะไรอ่านถึงตรงนี้แล้วประทับใจในตัวซัมโปะมากๆ จังเลย ไม่ใช่เพราะเขาเป็นฮีโร่บ้าบิ่นอยากช่วยก็ช่วยนะคะ แต่เพราะเขาได้ศึกษาดินฟ้าอากาศและภูมิประเทศพร้อมกับเตรียมตัวมาอย่างดี ประเมินความสามารถของตนเองและความสามารถของคนอื่นว่าพอทำได้แล้วจึงตัดสินใจ ไม่ได้พร่ำเพรื่อช่วย นี่คือสิ่งที่น่าประทับใจค่ะ
ในที่สุดซัมโปะก็เก็บร่างของผู้เสียชีวิตได้ เขาปีนขึ้นไปแจ้งข่าวที่น่าเสียใจกับนักปีนเขาอีกคนที่นั่งซ่อนตัวเตรียมหลบฝนอยู่ในรอยแยกของหน้าผาและให้ชีนะรีบปีนตามขึ้นมา แต่แหม...นั่งปลอดภัยอยู่ในรอยแยกแล้วใครจะยอมออกมา ในที่สุดซัมโปะก็ตัดสินใจบอกความจริงว่าสายฟ้าบนภูเขาสูงไม่ใช่สายฟ้าที่เราเห็นบนพื้นราบ เพราะมันไม่ได้พุ่งลงพื้น แต่พุ่งแนวขวางไปชนหน้าผาได้ด้วยค่ะ (น่ากลัวมาก อ่านแล้วอินเลยค่ะ) ที่สำคัญคือสายฟ้าชอบวิ่งผ่านรอยแยกเป็นพิเศษ ดังนั้นรอยแยกจึงกลายเป็นสถานที่อันตรายที่สุดยามที่ฝนตกอย่างไม่ต้องสงสัย
เท่านั้นยังไม่พอ สายฟ้าวิ่งผ่านเชือกได้ด้วย หากทุกคนมีเชือกเซฟเชื่อมกันหมดแล้ว แม้โดนผ่าคนเดียวที่เหลือก็จะกลายเป็นไก่ย่างไปด้วย การหลบสายฟ้าจึงทำด้วยความหวาดเสียวสุดขีด คือยืนบนชะง่อนผาที่มีความกว้างแค่รองเท้าคู่เดียว หันหน้าพิงหน้าผาและรอจนกระทั่งเมฆฝนผ่านไป...เฮ้อ...น่ากลัว แม้ซัมโปะจะกลัวจนตัวสั่น แต่ในฐานะผู้มีประสบการณ์ เขาตั้งสติและวางแผนเพื่อความปลอดภัยของทุกคนเป็นอย่างดี ผลลัพธ์ก็คือทุกคนรอดตาย
"ซัมโปะ จอมคนแห่งขุนเขา" ไม่ใช่เรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจให้อยากปีนขึ้นไปเอาชนะขุนเขาเท่านั้น การเตรียมตัวอย่างดี ศึกษาอันตรายทุกอย่างก่อนลงมือทำโดยไม่ประมาท และตั้งสติทุกวินาทีที่เหยียบย่างเข้าไปในดินแดนที่ธรรมชาติยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์คือสิ่งสำคัญที่เรื่องนี้มอบให้ รู้สึกว่าสิ่งท้าทายในโลกก็ไม่ได้น่ากลัวหากเราเตรียมการไว้ให้พร้อมนะคะ
เห็นทีต้องเจอกันหน่อยแล้วนะภูเขา บ้าเห่อถึงขนาดไปซื้อรองเท้าสำหรับลุยพื้นที่ขรุขระมาแล้วค่ะ แต่...ปีนเขาจริงๆ ทั้งที่เดินขึ้นบันไดยังเหนื่อยก็เหมือนฆ่าตัวตาย เอาเป็นว่าขอฝึกเดินขึ้นห้องทำงานชั้น 7 ก่อนแล้วกัน แล้วค่อยเจอกันนะภูเขา!
จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวันฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11082
05 กรกฎาคม 2551
ยุทธการจุดตะวัน รักชาติไม่ใช่เรื่องไกลตัว
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
โดยส่วนตัวคิดว่ายากเหลือเกินค่ะที่ใครสักคนจะบอกว่าตัวเอง "เป็นคนรักชาติ" และกล่าวหาว่าอีกคนหนึ่ง "บ่อนทำลายชาติ" นั่นก็เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนและเป็นสัตว์สังคม การดำรงอยู่ของคนๆ หนึ่งอาจหมายถึงความอยู่รอดของคนในครอบครัวอีกหลายคน ดังนั้นการจะตีตราว่าใครสักคนรักชาติหรือไม่จึงยากเหลือเกินค่ะ เพราะไม่รู้จะเอาอะไรวัดดี
ประเทศญี่ปุ่นน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของชนชาติที่ได้ชื่อว่า "รักชาติ" มากที่สุดในยุคหนึ่ง ซึ่งถ้าให้เดาก็น่าจะเป็นยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ช่วงเวลานั้นก็ผ่านมานานเหลือเกินค่ะ แม้ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันจะมีความเป็นชาตินิยมอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นป้ายบอกทางหรือเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในประเทศล้วนเป็นภาษาญี่ปุ่น ยากที่จะหาภาษาอังกฤษในประเทศนี้ค่ะ วัฒนธรรมการกินหรือการแต่งกายก็ล้วนบ่งบอกถึงความเป็นญี่ปุ่นซึ่งเด็กรุ่นใหม่หลายคนก็ภาคภูมิใจในความเป็นญี่ปุ่นของตัวเอง แต่สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่การ "รักชาติ" ค่ะ เป็นเพียง "ชาตินิยม" หรือการมองว่าตนมีวัฒนธรรมที่ดีงามกว่าชนชาติอื่นเท่านั้นเอง แต่...ก็ไม่ใช่คนญี่ปุ่นทุกคนหรอกนะคะ
ที่ต้องเกริ่นพื้นฐานความคิดของคนญี่ปุ่นที่สื่อผ่านการ์ตูนในปัจจุบันเสียก่อนเพื่อจะได้เล่าถึงการ์ตูนที่ออกจะสวนกระแสขาลงของความรักชาติเรื่องนี้ค่ะ "คาวางุจิ ไคจิ" ผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง "ยุทธการจุดตะวัน" เป็นนักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นเพียงไม่กี่คนที่ถ่ายทอดความ "รักชาติ" ได้มากพอๆ กับความเป็น "ชาตินิยม" เลยค่ะ เป็นที่ทราบดีว่าวัยรุ่นญี่ปุ่นยุคนี้เกิดในช่วงเวลาแห่งความสุขสบาย ไม่ต้องใช้ชีวิตยากลำบากเหมือนรุ่นปู่ย่าที่อดอยากหลังสงคราม ดังนั้นความ "รักชาติ" จึงจืดจางไปพร้อมๆ กับความสบายที่เพียงปลายนิ้วก็สั่งการได้ทุกอย่าง อ่านการ์ตูนแล้วรู้สึกได้ว่าคาวางุจิ ไคจิไม่ค่อยจะชอบแนวคิดเหลาะแหละแบบนี้เสียเท่าไร
"ยุทธการจุดตะวัน" กล่าวถึงประเทศญี่ปุ่นหลังเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ซึ่งไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน นั่นคือการระเบิดของภูเขาไฟฟูจิ ส่งผลให้แผ่นดินแยกและญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ภัยพิบัติครั้งนี้ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตไปมากมาย พื้นที่บางส่วนจมอยู่ใต้ทะเลจนกระทั่งประชากรจำนวนมากต้องลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพตามประเทศต่างๆ ในโลก กลายเป็นว่าชาวญี่ปุ่นที่เคยสุขสบายกลับเป็นประชากรชั้นสองในประเทศอื่นเสียแทน แม้จะเกินความจริงไปไกลแต่เชื่อว่าคนญี่ปุ่นที่เคยชินกับความสบายมาอ่านแล้วคงกลัวและเจ็บจี๊ดกันบ้างล่ะค่ะเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดในครั้งนั้นทำให้ "ริว เคนอิจิโร่" เด็กชายวัยประถมที่เกิดในตระกูลนักการเมืองต้องสูญเสียคุณพ่อและคุณแม่ เขาพลัดหลงจากบ้านพักตากอากาศและต้องเผชิญหน้ากับความลำบากเพียงคนเดียว คุณสมบัติของเคนอิจิโร่ที่โดดเด่นเหนือเด็กประถมทั่วไปอย่างชัดเจนคือ "ความเสียสละ" เขาช่วยชีวิตลูกหมาและไม่ยอมทิ้งจนโดนไล่ลงจากรถบรรทุกผู้ประสบภัย เมื่อได้พบชายหนุ่มที่กำลังจะขนของไปช่วยผู้ประสบภัยคนอื่น เคนอิจิโร่ก็ขอร่วมทางไปด้วยแต่กลับขอร้องให้ทิ้งข้าวของทุกอย่างที่บรรทุกบนเรือลงน้ำให้หมดเพื่อช่วยผู้ประสบภัยอีกหลายคนที่กำลังจะจมน้ำ จนสุดท้ายเขาก็ตกน้ำไปเสียเอง นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่มีคนพบเคนอิจิโร่
อ.คาวางุจิสร้างเคนอิจิโร่ออกมาเพื่อเสียดสีการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันอย่างชัดเจนค่ะ เคนอิจิโร่คือตัวแทนของแนวคิด "แม้แต่เด็กประถมยังเสียสละมากกว่าผู้ใหญ่บางคนเสียอีก" เพื่อให้นักอ่านวัยผู้ใหญ่รู้สึกหน้าชาและย้อนกลับมามองตัวเองบ้างว่าทุกวันนี้เรา "รักชาติ" ได้เท่ากับที่เคนอิจิโร่แสดงออกในการ์ตูนหรือยัง
จริงอยู่ว่าเหตุการณ์ในการ์ตูนคงไม่เกิดขึ้นจริงหรอกค่ะ ถึงเกิดขึ้นจริงๆ ต่อให้ประเทศยากลำบากแต่เขาก็ยังเหลือคนเก่งๆ ที่มีค่าอีกตั้งเยอะ ซึ่งนั่นสิ่งที่ อ.คาวางุจิต้องการสะท้อนให้เห็นใน "ยุทธการจุดตะวัน" เลยค่ะ ว่าสิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับญี่ปุ่นไม่ใช่การเสียดินแดนหรือทรัพยากร แต่เป็นการสูญเสีย "คน" หรือจิตวิญญาณรักชาติของความเป็นคนญี่ปุ่นนั่นเอง
งวดนี้มาเสียเครียด แต่อ่านการ์ตูนเรื่องนี้แล้วชวนให้ย้อนกลับมามองประเทศไทยบ้างว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศเรากันแน่ ราวกับทุกคนพยายามปกป้องสิ่งที่เป็นเปลือกนอกของประเทศโดยลืมไปว่า "ความเป็นคนไทย" นี่ล่ะค่ะคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เหมือนดังที่ในหลวงของเราต้องการให้คนในชาติสามัคคีกันเพราะอย่างไรเสียก็เป็น "คนไทยด้วยกัน"...ชอบคำนี้จังค่ะ
สรุปว่าอ่านเรื่องนี้แล้วอารมณ์ "รักชาติ" เข้าสิงจริงๆ
วันที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11075
ดาวน์โหลดชมวิดีโอ Taiyo no mokushiroku ได้ที่:http://w10.mocovideo.jp/search.php?MODE=DM_TAG&KEY=taiyo และที่
http://downloads.animebw.com/series/Taiyou_no_Mokushiroku.html
โดย วินิทรา นวลละออง
โดยส่วนตัวคิดว่ายากเหลือเกินค่ะที่ใครสักคนจะบอกว่าตัวเอง "เป็นคนรักชาติ" และกล่าวหาว่าอีกคนหนึ่ง "บ่อนทำลายชาติ" นั่นก็เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนและเป็นสัตว์สังคม การดำรงอยู่ของคนๆ หนึ่งอาจหมายถึงความอยู่รอดของคนในครอบครัวอีกหลายคน ดังนั้นการจะตีตราว่าใครสักคนรักชาติหรือไม่จึงยากเหลือเกินค่ะ เพราะไม่รู้จะเอาอะไรวัดดี
ประเทศญี่ปุ่นน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีของชนชาติที่ได้ชื่อว่า "รักชาติ" มากที่สุดในยุคหนึ่ง ซึ่งถ้าให้เดาก็น่าจะเป็นยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ช่วงเวลานั้นก็ผ่านมานานเหลือเกินค่ะ แม้ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันจะมีความเป็นชาตินิยมอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นป้ายบอกทางหรือเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในประเทศล้วนเป็นภาษาญี่ปุ่น ยากที่จะหาภาษาอังกฤษในประเทศนี้ค่ะ วัฒนธรรมการกินหรือการแต่งกายก็ล้วนบ่งบอกถึงความเป็นญี่ปุ่นซึ่งเด็กรุ่นใหม่หลายคนก็ภาคภูมิใจในความเป็นญี่ปุ่นของตัวเอง แต่สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่การ "รักชาติ" ค่ะ เป็นเพียง "ชาตินิยม" หรือการมองว่าตนมีวัฒนธรรมที่ดีงามกว่าชนชาติอื่นเท่านั้นเอง แต่...ก็ไม่ใช่คนญี่ปุ่นทุกคนหรอกนะคะ
ที่ต้องเกริ่นพื้นฐานความคิดของคนญี่ปุ่นที่สื่อผ่านการ์ตูนในปัจจุบันเสียก่อนเพื่อจะได้เล่าถึงการ์ตูนที่ออกจะสวนกระแสขาลงของความรักชาติเรื่องนี้ค่ะ "คาวางุจิ ไคจิ" ผู้เขียนการ์ตูนเรื่อง "ยุทธการจุดตะวัน" เป็นนักเขียนการ์ตูนญี่ปุ่นเพียงไม่กี่คนที่ถ่ายทอดความ "รักชาติ" ได้มากพอๆ กับความเป็น "ชาตินิยม" เลยค่ะ เป็นที่ทราบดีว่าวัยรุ่นญี่ปุ่นยุคนี้เกิดในช่วงเวลาแห่งความสุขสบาย ไม่ต้องใช้ชีวิตยากลำบากเหมือนรุ่นปู่ย่าที่อดอยากหลังสงคราม ดังนั้นความ "รักชาติ" จึงจืดจางไปพร้อมๆ กับความสบายที่เพียงปลายนิ้วก็สั่งการได้ทุกอย่าง อ่านการ์ตูนแล้วรู้สึกได้ว่าคาวางุจิ ไคจิไม่ค่อยจะชอบแนวคิดเหลาะแหละแบบนี้เสียเท่าไร
"ยุทธการจุดตะวัน" กล่าวถึงประเทศญี่ปุ่นหลังเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ซึ่งไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน นั่นคือการระเบิดของภูเขาไฟฟูจิ ส่งผลให้แผ่นดินแยกและญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน ภัยพิบัติครั้งนี้ส่งผลให้ชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตไปมากมาย พื้นที่บางส่วนจมอยู่ใต้ทะเลจนกระทั่งประชากรจำนวนมากต้องลี้ภัยไปอาศัยอยู่ในค่ายผู้อพยพตามประเทศต่างๆ ในโลก กลายเป็นว่าชาวญี่ปุ่นที่เคยสุขสบายกลับเป็นประชากรชั้นสองในประเทศอื่นเสียแทน แม้จะเกินความจริงไปไกลแต่เชื่อว่าคนญี่ปุ่นที่เคยชินกับความสบายมาอ่านแล้วคงกลัวและเจ็บจี๊ดกันบ้างล่ะค่ะเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดในครั้งนั้นทำให้ "ริว เคนอิจิโร่" เด็กชายวัยประถมที่เกิดในตระกูลนักการเมืองต้องสูญเสียคุณพ่อและคุณแม่ เขาพลัดหลงจากบ้านพักตากอากาศและต้องเผชิญหน้ากับความลำบากเพียงคนเดียว คุณสมบัติของเคนอิจิโร่ที่โดดเด่นเหนือเด็กประถมทั่วไปอย่างชัดเจนคือ "ความเสียสละ" เขาช่วยชีวิตลูกหมาและไม่ยอมทิ้งจนโดนไล่ลงจากรถบรรทุกผู้ประสบภัย เมื่อได้พบชายหนุ่มที่กำลังจะขนของไปช่วยผู้ประสบภัยคนอื่น เคนอิจิโร่ก็ขอร่วมทางไปด้วยแต่กลับขอร้องให้ทิ้งข้าวของทุกอย่างที่บรรทุกบนเรือลงน้ำให้หมดเพื่อช่วยผู้ประสบภัยอีกหลายคนที่กำลังจะจมน้ำ จนสุดท้ายเขาก็ตกน้ำไปเสียเอง นั่นเป็นครั้งสุดท้ายที่มีคนพบเคนอิจิโร่
อ.คาวางุจิสร้างเคนอิจิโร่ออกมาเพื่อเสียดสีการดำเนินชีวิตของชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันอย่างชัดเจนค่ะ เคนอิจิโร่คือตัวแทนของแนวคิด "แม้แต่เด็กประถมยังเสียสละมากกว่าผู้ใหญ่บางคนเสียอีก" เพื่อให้นักอ่านวัยผู้ใหญ่รู้สึกหน้าชาและย้อนกลับมามองตัวเองบ้างว่าทุกวันนี้เรา "รักชาติ" ได้เท่ากับที่เคนอิจิโร่แสดงออกในการ์ตูนหรือยัง
จริงอยู่ว่าเหตุการณ์ในการ์ตูนคงไม่เกิดขึ้นจริงหรอกค่ะ ถึงเกิดขึ้นจริงๆ ต่อให้ประเทศยากลำบากแต่เขาก็ยังเหลือคนเก่งๆ ที่มีค่าอีกตั้งเยอะ ซึ่งนั่นสิ่งที่ อ.คาวางุจิต้องการสะท้อนให้เห็นใน "ยุทธการจุดตะวัน" เลยค่ะ ว่าสิ่งที่น่ากลัวที่สุดสำหรับญี่ปุ่นไม่ใช่การเสียดินแดนหรือทรัพยากร แต่เป็นการสูญเสีย "คน" หรือจิตวิญญาณรักชาติของความเป็นคนญี่ปุ่นนั่นเอง
งวดนี้มาเสียเครียด แต่อ่านการ์ตูนเรื่องนี้แล้วชวนให้ย้อนกลับมามองประเทศไทยบ้างว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศเรากันแน่ ราวกับทุกคนพยายามปกป้องสิ่งที่เป็นเปลือกนอกของประเทศโดยลืมไปว่า "ความเป็นคนไทย" นี่ล่ะค่ะคือสิ่งที่สำคัญที่สุด เหมือนดังที่ในหลวงของเราต้องการให้คนในชาติสามัคคีกันเพราะอย่างไรเสียก็เป็น "คนไทยด้วยกัน"...ชอบคำนี้จังค่ะ
สรุปว่าอ่านเรื่องนี้แล้วอารมณ์ "รักชาติ" เข้าสิงจริงๆ
วันที่ 06 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11075
ดาวน์โหลดชมวิดีโอ Taiyo no mokushiroku ได้ที่:http://w10.mocovideo.jp/search.php?MODE=DM_TAG&KEY=taiyo และที่
http://downloads.animebw.com/series/Taiyou_no_Mokushiroku.html