คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
เชื่อว่าหลายท่านคงเคยผ่านตาภาพยนตร์ญี่ปุ่นแนว "ตำรวจอวกาศ" มาบ้างแล้วค่ะ ลองนึกถึงฮีโร่ที่เอานิ้วกดเข็มขัดแล้วสามารถแปลงร่างเป็นตำรวจอวกาศสวมหมวกเหล็กได้ในพริบตานะคะ แปลงร่างเสร็จก็สู้กับสัตว์ประหลาดแล้วก็เอาชนะได้ทุกครั้งแบบไม่มีลุ้น เด็กๆ ที่นั่งชมหน้าจอก็เฮลั่น! ตำรวจอวกาศปกป้องโลกเราไว้ได้อีกครั้งแล้ว!
ย้อนนึกถึงเราตอนเด็กๆ ที่ตั้งตารอดูได้ทุกอาทิตย์ก็ขำค่ะ ทุกวันนี้เวลาเห็นหลานๆ ดูตำรวจอวกาศแล้วลุ้นกันตังโก่งแม้จะทราบอยู่แล้วว่าเรื่องจะเริ่มและจบอย่างไรก็ได้แต่นึกขำ ที่ขำเพราะตอนเด็กเราก็เป็นอย่างนี้ค่ะ เวลาผ่านไปยี่สิบกว่าปี เด็กๆ ที่คลั่งไคล้ตำรวจอวกาศก็โตเป็นผู้ใหญ่ทำงานทำการกันแล้ว หลายคนมีลูกวัยเดียวกับสมัยเราเริ่มอ่านการ์ตูน หากจะย้อนกลับไปมองเหล่าตำรวจอวกาศที่ยังคงปฏิบัติหน้าที่พิทักษ์โลกอย่างเข้มแข็งแล้วละก็ คงออกมาเป็น Tentai Senshi Sunred (Astro Fighter Sunred) การ์ตูนล้อเลียนตำรวจอวกาศและเสียดสีชีวิตของชาวญี่ปุ่นชั้นแรงงานในยุคนี้ค่ะ
Tentai Senshi Sunred สร้างจากหนังสือการ์ตูนชื่อเดียวกันของ "คุโบตะ มาโกโตะ" ล้อเลียนตำรวจอวกาศซึ่งเป็นฮีโร่ในใจของเด็กญี่ปุ่นเสมอมา เนื้อเรื่องเล่าถึง "ซันเร็ด" ตำรวจอวกาศซึ่งไม่น่าจะมีงานทำเป็นหลักแหล่งนอกจากปราบเหล่าร้าย เขาใช้ชีวิตเตะฝุ่นและเล่นปาจิงโกะไปวันๆ และเมื่อได้รับสารท้ารบจากเหล่าร้าย เขาก็จะไปสู้เป็นกิจวัตร ซันเร็ดมีแฟนสาวซึ่งทำงานออฟฟิศทั่วไปค่ะ ยามอยู่กับแฟน ซันเร็ด (ซึ่งสวมหน้ากากตลอดเวลา) กลับกลายเป็นผู้ชายกลัวเมียและดูไม่เอาถ่านไปในทันที ภาพตำรวจอวกาศสุดเท่ที่เราเคยเห็นจึงพังทลายในพริบตาอีกทีมหนึ่งคือ "ขบวนการเหล่าร้าย" ซึ่งนำทีมโดย "นายพลแวมป์" เขาคือหัวหน้าเหล่าร้ายที่ทำตัวเหมือนพ่อบ้านคอยดูแลเหล่าสัตว์ประหลาดในบ้านและแวะเวียนไปเยี่ยมสัตว์ประหลาดอื่นๆ อยู่เสมอ งานหลักของเขาคือจัดคิวให้ลูกน้องไปสู้กับซันเร็ด โดยทุกครั้งต้องพกลูกจ๊อกไปร้องกี๊กี๊ก่อนจะส่งลูกน้องไปลุยกลางสนามเด็กเล่น (สมมุติว่าเป็นบรรยากาศมาคุ) และเช่นเคย เหล่าร้ายของมิสเตอร์แวมป์ก็พ่ายแพ้ซันเร็ดตามระเบียบ
ความที่เป็นการ์ตูนเสียดสี เรื่องนี้จึงสะท้อนสังคมญี่ปุ่นซึ่งเด็กญี่ปุ่นล้วนอยากเป็นฮีโร่เช่นเดียวกับซันเร็ด แต่เมื่อทุกคนโตขึ้นก็รับรู้ความจริงว่าฮีโร่มีได้ไม่กี่คนเท่านั้น (เช่น หัวหน้างาน) และอาจไม่ใช่เขา เด็กญี่ปุ่นส่วนใหญ่เติบโตขึ้นทำงานเป็นชนชั้นแรงงานในบริษัท อาจเป็นบริษัทเล็กๆ ซึ่งไม่มีคุณค่าในสายตาของใครเช่นเดียวกับขบวนการเหล่าร้ายของนายพลแวมป์ซึ่งได้แต่ซ่อนตัวในเงามืดและมีหน้าที่เป็นผู้แพ้ให้ซันเร็ดตลอดเวลา
เหล่าร้ายใน Tentai Senshi Sunred จึงกลับกลายเป็นตัวแทนผู้ชายญี่ปุ่นส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานนัก สวมบทบาท "ผู้แพ้" และไม่สามารถพูดได้ว่าตนเองยิ่งใหญ่แบบซันเร็ด แต่หากมองจากอีกมุมหนึ่ง นายพลแวมป์ก็รายล้อมด้วยลูกน้องสัตว์ประหลาดที่รักเขาเหมือนพ่อ เขาคอยดูแลช่วยเหลือเหล่าสัตว์ประหลาดเสมอไปพร้อมๆ กับรับผิดชอบงานที่ไม่มีใครในโลกนี้อยากทำ นั่นคืองานที่เป็น "ผู้แพ้ตลอดกาล"บางอย่างในการ์ตูนเรื่องนี้จับใจเหลือเกินค่ะ Tentai Senshi Sunred นำเสนอความสุขเล็กๆ ของเหล่า "ผู้แพ้ตลอดกาล" ซึ่งจนตายก็อาจจะไม่สามารถทิ้งอะไรไว้ให้โลกจารึกอย่างซันเร็ดได้ แต่ถึงจะไม่ได้เกิดมาเป็นฮีโร่ เขาเหล่านั้นก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของสังคม แม้จะโดนดูถูกว่า "มันเป็นพวกขบวนการเหล่าร้ายนะ" ซึ่งให้ความหมายคล้ายกับ "มันก็แค่พนักงานในบริษัทกระจอกนะ" คุณค่าของคนเหล่านี้ไม่ได้ดูกันตรงนั้นค่ะ ความมุ่งมั่น อ้อนน้อมถ่อมตน และยอมรับการเป็นมวยรองในสังคมอย่างเต็มภาคภูมิคือสิ่งที่ "ขบวนการนายพลแวมป์" บอกกับเรา
ในชีวิตจริงใครเป็นได้แค่สัตว์ประหลาดใน "ขบวนการนายพลแวมป์" ก็ไม่ต้องเสียใจนะคะ การยอมรับข้อจำกัดของตัวเองคือหนึ่งในบันไดที่ทำให้เราเติบโตขึ้นค่ะ และจงภูมิใจว่าเราไม่ใช่สัตว์ประหลาดตัวเดียวที่ถูกซันเร็ดอัดจนน่วม ยังมีเพื่อนสัตว์ประหลาดมากมายโดนอัดหนักกว่าเราเยอะ และที่สำคัญเราก็ยังมีนายพลแวมป์ที่คอยเป็นห่วงอยู่เสมอ
สู้ต่อไปเถอะเหล่าร้าย! อย่าท้อแค่เพราะไม่ได้เป็นพระเอกค่ะ!
วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11250 มติชนรายวัน
27 ธันวาคม 2551
22 ธันวาคม 2551
Volks ตุ๊กตาที่เหนือกว่าของเล่น [2]
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วว่าด้วย Ball Joint Doll (BJD) หรือตุ๊กตาเรซิ่นจากบริษัท Volks ของญี่ปุ่น ซึ่งรุ่นที่สูงที่สุดของเขาความสูงเกิน 60 เซนติเมตร หรือสองไม้บรรทัด และราคาสูงที่สุดก็เกือบ 50,000 บาทเลยทีเดียว งวดนี้มาทำความรู้จักรุ่นต่างๆ ของเขานะคะ
รุ่นต่างๆ ที่เราจะกล่าวถึงคือ Tenshi, school head, และ SD รุ่นต่างๆ
เริ่มต้นด้วยชื่อย่อชวนเมาก่อน คำว่า SD ย่อมาจาก Superdollfie ซึ่ง Volks ใช้เรียก BJD ที่แบ่งเพศชัดเจน ในระหว่างที่ Tenshi ซึ่งแปลตรงตัวว่า angel คือ BJD ที่ไม่มีเพศ หากเราต้องการได้ BJD ที่หน้าตางดงามเหมือนนางฟ้าตัวน้อยๆ และไม่คิดมากที่ทั้งตัวจะแบนราบไปหมด เป้าหมายของเราคือ Volks Tenshi ค่ะ รุ่นนี้มีความสูงตั้งแต่ 10 ไปจนถึง 60 กว่าเซนติเมตร แต่ต้องดั้นด้นไปสั่งที่ Tenshi no Sato สำนักงานใหญ่ที่เกียวโตเท่านั้น
School head เป็นชื่อของ "ศีรษะ" รุ่นพิเศษซึ่งจะได้มาจากการเข้าคอร์สเรียนแต่งหน้า BJD กับ Volks เท่านั้นค่ะ เนื่องจากเขาไม่ต้องการให้ศีรษะที่ใช้ในการเรียนไปปะปนกับศีรษะอื่นๆ ในระบบ FCS (Full Choice System) ซึ่งต้องสั่งซื้อทั้งตัว ซื้อแยกแต่ศีรษะไม่ได้ เขาจึงคิดศีรษะที่ใช้ในการเรียนขึ้นมาและเป็นที่รู้จักในนาม School head นั่นเอง
ต่อมาคือรุ่นเล็ก Yo-SD เป็นไลน์การผลิตล่าสุดของ Volks และได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากความสูงประมาณ 26-27 เซนติเมตร กะทัดรัด พกพาสะดวก หน้าตาน่าเอ็นดู และหาเสื้อผ้าให้ใส่ง่าย ราคาไม่ค่อยน่ารักนะคะ ประมาณ 12,500 บาทขึ้นไปค่ะ
MSD หรือ Mini Superdolfie เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นกัน MSD เป็นรุ่นที่สองที่ Volks ผลิตออกมาค่ะ ความสูงประมาณ 43 เซนติเมตร และมีรูปร่างหน้าตาเหมือนเด็กประถม (คือส่วนสัดลำตัวยาวกว่าขา) แน่นอนว่าราคาไม่เกี่ยวกับความสูง เพราะแม้จะสูงกว่า Yo-SD แต่ราคาย่อมเยากว่า ประมาณ 11,500 บาทขึ้นไปค่ะ เนื่องจาก MSD ได้รับความนิยมมากและตลาดต้องการให้ทำบอดี้ที่เป็นเด็กโตขึ้นอีกหน่อย ทาง Volks จึงประดิษฐ์รุ่น SD Cute ออกมา ซึ่งความสูงเท่าๆ กับ MSD แต่ส่วนสัดบอดี้ขายาวขึ้นมาหน่อย ส่งผลให้เหมือนตุ๊กตาเด็กมัธยมตัวเล็กนั่นเอง ราคากระโดดขึ้นมาเป็นประมาณ 20,000 บาทขึ้นไปเลยค่ะ
มาถึงรุ่นแรกสุดของ Volks บ้าง SD ค่ะ เป็นรุ่นแรกที่จำหน่ายและทาง Volks ต้องการทำให้รูปร่างหน้าตาออกมาเหมือนเด็กอายุ 10 ขวบ ดังนั้นบางครั้งรุ่นนี้จึงถูกเรียกว่า SD10 ความสูงกำลังน่ารักที่ 55-56 เซนติเมตรนะคะ และราคา 23,500 บาทขึ้นไปค่ะ
SD13 คือรุ่นยอดฮิตติดลมบนของ Volks รูปร่างหน้าตาเหมือนเด็กอายุประมาณ 13 ปี ดังนั้นเราอย่าคาดหวังว่าจะเห็นสาวอึ๋มหรือหนุ่มกล้ามล่ำจากรุ่นนี้ค่ะ ความสูงมาตรฐานคือประมาณ 57-62 เซนติเมตร มีจำหน่ายเป็นรุ่นทั่วไป แต่ที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษมักเป็นรุ่น Limited หรือผลิตจำกัดจำนวนซึ่งราคาประมาณ 33,000 บาทขึ้นไป เริ่มแพงขึ้นเรื่อยๆ แล้ว
ที่กล่าวถึงทั้งหมดด้านบนเป็นแบบที่มีรุ่นปกติซึ่งสามารถสั่งซื้อได้ทุกวันตาม Tenshi no Sato (ร้านสาขาใหญ่) หรือ Tenshi no Sumika (ร้านสาขาย่อย) ของ Volks ค่ะ คราวนี้มาดูรุ่นพิเศษซึ่งผลิตจำกัดจำนวนและมีจำหน่ายเฉพาะในงานพิเศษบางงานเท่านั้น นั่นคือ SD16 และ SD17 ซึ่งผลิตให้ดูเหมือนเด็กอายุ 16 และ 17 ปี
SD16 ปัจจุบันจำหน่ายมาแล้ว 7 รุ่น นอกจากรูปร่างที่แตกต่างจากรุ่นอื่นๆ แล้ว (คือเป็นผู้ใหญ่กว่ามาก) ระบบการโพสท่าและข้อต่อยังล้ำหน้าขึ้นมาก ส่งผลให้โพสท่าได้สวยอย่างเป็นธรรมชาติ ส่วน SD17 ผลิตออกมาจำกัดจำนวนเช่นกันค่ะ ปัจจุบันเพิ่งออกมาแค่ 4 รุ่น และจำหน่ายแบบ "จับสลาก" เฉพาะในงานของ Volks เท่านั้น งานที่ว่าไม่ใช่ใครจะไปก็ได้นะคะ ต้องมีบัตรสมาชิกของ Volks ไปยื่นด้วยค่ะ การซื้อรุ่นสุดยอดไอเทมหายากทำได้ด้วยการตื่นแต่เช้า (หรือนั่งรถไฟเที่ยวดึกไปยืนรอตั้งแต่วันก่อนเปิดเลย) แล้วก็ต่อคิวรอ เมื่อถึงเวลาเขาก็จะให้จับสลากไปเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าคนจับสลากได้ครบแล้ว คนที่ต่อแถวอยู่ที่เหลือก็อดเลยค่ะ
ราคาจำหน่ายก่อนบวกภาษี 5% ของ SD17 คือ 130,000 เยน หรือเกือบ 50,000 บาทค่ะ!! ถ้ารวมกับภาษีและค่าเสียเวลาต่อคิวตั้งแต่ก่อนเปิดจองอาจจะมูลค่าสูงกว่านั้นมาก Reisner ซึ่งเป็น SD17 รุ่นแรกสุดราคาปัจจุบันพุ่งไปสูงถึง 300,000 เยนค่ะ! (ประมาณ 120,000 บาท!)
อย่างไรก็ตาม คุณค่าทางใจก็เหนือกว่าเม็ดเงินนะคะ ของแพงใช่ว่าจะดีกว่าของถูกค่ะ แต่ไม่ทราบเป็นยังไง ของที่ชอบมันต้องแพงทุกที
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11243 มติชนรายวัน
โดย วินิทรา นวลละออง
ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วว่าด้วย Ball Joint Doll (BJD) หรือตุ๊กตาเรซิ่นจากบริษัท Volks ของญี่ปุ่น ซึ่งรุ่นที่สูงที่สุดของเขาความสูงเกิน 60 เซนติเมตร หรือสองไม้บรรทัด และราคาสูงที่สุดก็เกือบ 50,000 บาทเลยทีเดียว งวดนี้มาทำความรู้จักรุ่นต่างๆ ของเขานะคะ
รุ่นต่างๆ ที่เราจะกล่าวถึงคือ Tenshi, school head, และ SD รุ่นต่างๆ
เริ่มต้นด้วยชื่อย่อชวนเมาก่อน คำว่า SD ย่อมาจาก Superdollfie ซึ่ง Volks ใช้เรียก BJD ที่แบ่งเพศชัดเจน ในระหว่างที่ Tenshi ซึ่งแปลตรงตัวว่า angel คือ BJD ที่ไม่มีเพศ หากเราต้องการได้ BJD ที่หน้าตางดงามเหมือนนางฟ้าตัวน้อยๆ และไม่คิดมากที่ทั้งตัวจะแบนราบไปหมด เป้าหมายของเราคือ Volks Tenshi ค่ะ รุ่นนี้มีความสูงตั้งแต่ 10 ไปจนถึง 60 กว่าเซนติเมตร แต่ต้องดั้นด้นไปสั่งที่ Tenshi no Sato สำนักงานใหญ่ที่เกียวโตเท่านั้น
School head เป็นชื่อของ "ศีรษะ" รุ่นพิเศษซึ่งจะได้มาจากการเข้าคอร์สเรียนแต่งหน้า BJD กับ Volks เท่านั้นค่ะ เนื่องจากเขาไม่ต้องการให้ศีรษะที่ใช้ในการเรียนไปปะปนกับศีรษะอื่นๆ ในระบบ FCS (Full Choice System) ซึ่งต้องสั่งซื้อทั้งตัว ซื้อแยกแต่ศีรษะไม่ได้ เขาจึงคิดศีรษะที่ใช้ในการเรียนขึ้นมาและเป็นที่รู้จักในนาม School head นั่นเอง
ต่อมาคือรุ่นเล็ก Yo-SD เป็นไลน์การผลิตล่าสุดของ Volks และได้รับความนิยมอย่างสูง เนื่องจากความสูงประมาณ 26-27 เซนติเมตร กะทัดรัด พกพาสะดวก หน้าตาน่าเอ็นดู และหาเสื้อผ้าให้ใส่ง่าย ราคาไม่ค่อยน่ารักนะคะ ประมาณ 12,500 บาทขึ้นไปค่ะ
MSD หรือ Mini Superdolfie เป็นอีกรุ่นหนึ่งที่ได้รับความนิยมเช่นกัน MSD เป็นรุ่นที่สองที่ Volks ผลิตออกมาค่ะ ความสูงประมาณ 43 เซนติเมตร และมีรูปร่างหน้าตาเหมือนเด็กประถม (คือส่วนสัดลำตัวยาวกว่าขา) แน่นอนว่าราคาไม่เกี่ยวกับความสูง เพราะแม้จะสูงกว่า Yo-SD แต่ราคาย่อมเยากว่า ประมาณ 11,500 บาทขึ้นไปค่ะ เนื่องจาก MSD ได้รับความนิยมมากและตลาดต้องการให้ทำบอดี้ที่เป็นเด็กโตขึ้นอีกหน่อย ทาง Volks จึงประดิษฐ์รุ่น SD Cute ออกมา ซึ่งความสูงเท่าๆ กับ MSD แต่ส่วนสัดบอดี้ขายาวขึ้นมาหน่อย ส่งผลให้เหมือนตุ๊กตาเด็กมัธยมตัวเล็กนั่นเอง ราคากระโดดขึ้นมาเป็นประมาณ 20,000 บาทขึ้นไปเลยค่ะ
มาถึงรุ่นแรกสุดของ Volks บ้าง SD ค่ะ เป็นรุ่นแรกที่จำหน่ายและทาง Volks ต้องการทำให้รูปร่างหน้าตาออกมาเหมือนเด็กอายุ 10 ขวบ ดังนั้นบางครั้งรุ่นนี้จึงถูกเรียกว่า SD10 ความสูงกำลังน่ารักที่ 55-56 เซนติเมตรนะคะ และราคา 23,500 บาทขึ้นไปค่ะ
SD13 คือรุ่นยอดฮิตติดลมบนของ Volks รูปร่างหน้าตาเหมือนเด็กอายุประมาณ 13 ปี ดังนั้นเราอย่าคาดหวังว่าจะเห็นสาวอึ๋มหรือหนุ่มกล้ามล่ำจากรุ่นนี้ค่ะ ความสูงมาตรฐานคือประมาณ 57-62 เซนติเมตร มีจำหน่ายเป็นรุ่นทั่วไป แต่ที่ได้รับความสนใจเป็นพิเศษมักเป็นรุ่น Limited หรือผลิตจำกัดจำนวนซึ่งราคาประมาณ 33,000 บาทขึ้นไป เริ่มแพงขึ้นเรื่อยๆ แล้ว
ที่กล่าวถึงทั้งหมดด้านบนเป็นแบบที่มีรุ่นปกติซึ่งสามารถสั่งซื้อได้ทุกวันตาม Tenshi no Sato (ร้านสาขาใหญ่) หรือ Tenshi no Sumika (ร้านสาขาย่อย) ของ Volks ค่ะ คราวนี้มาดูรุ่นพิเศษซึ่งผลิตจำกัดจำนวนและมีจำหน่ายเฉพาะในงานพิเศษบางงานเท่านั้น นั่นคือ SD16 และ SD17 ซึ่งผลิตให้ดูเหมือนเด็กอายุ 16 และ 17 ปี
SD16 ปัจจุบันจำหน่ายมาแล้ว 7 รุ่น นอกจากรูปร่างที่แตกต่างจากรุ่นอื่นๆ แล้ว (คือเป็นผู้ใหญ่กว่ามาก) ระบบการโพสท่าและข้อต่อยังล้ำหน้าขึ้นมาก ส่งผลให้โพสท่าได้สวยอย่างเป็นธรรมชาติ ส่วน SD17 ผลิตออกมาจำกัดจำนวนเช่นกันค่ะ ปัจจุบันเพิ่งออกมาแค่ 4 รุ่น และจำหน่ายแบบ "จับสลาก" เฉพาะในงานของ Volks เท่านั้น งานที่ว่าไม่ใช่ใครจะไปก็ได้นะคะ ต้องมีบัตรสมาชิกของ Volks ไปยื่นด้วยค่ะ การซื้อรุ่นสุดยอดไอเทมหายากทำได้ด้วยการตื่นแต่เช้า (หรือนั่งรถไฟเที่ยวดึกไปยืนรอตั้งแต่วันก่อนเปิดเลย) แล้วก็ต่อคิวรอ เมื่อถึงเวลาเขาก็จะให้จับสลากไปเรื่อยๆ ดังนั้นถ้าคนจับสลากได้ครบแล้ว คนที่ต่อแถวอยู่ที่เหลือก็อดเลยค่ะ
ราคาจำหน่ายก่อนบวกภาษี 5% ของ SD17 คือ 130,000 เยน หรือเกือบ 50,000 บาทค่ะ!! ถ้ารวมกับภาษีและค่าเสียเวลาต่อคิวตั้งแต่ก่อนเปิดจองอาจจะมูลค่าสูงกว่านั้นมาก Reisner ซึ่งเป็น SD17 รุ่นแรกสุดราคาปัจจุบันพุ่งไปสูงถึง 300,000 เยนค่ะ! (ประมาณ 120,000 บาท!)
อย่างไรก็ตาม คุณค่าทางใจก็เหนือกว่าเม็ดเงินนะคะ ของแพงใช่ว่าจะดีกว่าของถูกค่ะ แต่ไม่ทราบเป็นยังไง ของที่ชอบมันต้องแพงทุกที
วันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11243 มติชนรายวัน
13 ธันวาคม 2551
Volks ตุ๊กตาที่เหนือกว่าของเล่น [1]
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังเรื่อง Ball Joint Doll (BJD) หรือตุ๊กตาเรซิ่นซึ่งมีข้อต่อเป็นบอลล์อยู่ในเบ้าส่งผลให้สามารถขยับโพสท่าได้หลากหลายกว่าตุ๊กตาบาร์บี้ไปแล้วค่ะ และครั้งนี้จะมากล่าวถึงอีกครั้ง เพียงแต่จะกล่าวถึงเจ้ายุทธจักรของวงการ BJD อันดับหนึ่งในญี่ปุ่นและอาจจะเป็นอันดับหนึ่งในโลกด้วยค่ะ ชื่อของเขาคือ Volks
ก่อนจะทำความรู้จัก BJD ของบริษัทนี้ ก็ต้องทำความรู้จักสิ่งที่ทำให้คนทั่วไปเห็นแล้วอ้าปากเหวอเสียก่อนค่ะ ปกติเราจะคุ้นเคยกับตุ๊กตาที่เหมือนคนแบบนี้แค่บาร์บี้ซึ่งสูงไม่ถึงหนึ่งไม้บรรทัดใช่ไหมคะ แต่ BJD มีรุ่นที่สูงถึง 64 เซนติเมตรค่ะ! หมายถึงสองไม้บรรทัดเลยทีเดียว นอกจากความสูงปรี๊ดปร๊าดแล้ว ราคาก็ยังสูงปรี๊ดปร๊าดอย่างไม่น่าเชื่อค่ะ ตัวที่เห็นในภาพคือ Volks SD17 Hikaru Genji ซึ่งได้คอนเซ็ปท์มาจากวรรณกรรมอีโรติคคลาสสิคของญี่ปุ่น "ฮิคารุ เกนจิ" หนุ่มนักรักที่ให้อารมณ์คาสโนว่าสุดละเมียด เปิดขายแบบจำกัดจำนวนด้วยราคาเริ่มต้น 130,000 เยน (ประมาณ 46,000 บาท!!) ไม่น่าเชื่อว่าตุ๊กตาตัวเดียวราคาเกือบครึ่งแสนเข้าไปแล้วค่ะ!
ถอยกลับมาที่ Volks อีกครั้งค่ะ ลองมาดูกันดีกว่าว่าเขาทำอย่างไรจึงขายตุ๊กตาราคาแพงบ้าเลือดแบบนี้ได้เป็นเทน้ำเทท่า ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.angelden.net/ ค่ะ
Volks คือบริษัทผลิตและจำหน่าย BJD ซึ่งครองตลาดเกือบทั้งหมดในญี่ปุ่น ทั้งปั้นและออกแบบเองจนเป็นเอกลักษณ์ไม่มีใครเหมือน แต่สิ่งที่ทำให้ Volks เป็นผู้นำตลาด BJD ในญี่ปุ่นทั้งที่มี BJD จากเกาหลีและจีนเข้ามาตีตลาดด้วยราคาที่ถูกกว่ากันครึ่งหนึ่งและดีไซน์รูปร่างหน้าตาสวยกว่าคือ "ความภักดีของลูกค้า" ซึ่ง Volks หยิบยื่นความเหนือระดับให้เหล่าผู้รัก BJD เช่นเดียวกับเครื่องสำอางของญี่ปุ่นซึ่งให้ภาพลักษณ์เป็นแบรนด์ชั้นสูง เรียกว่าถ้าใครเดินถือ BJD ของ Volks ก็จะได้รับอิมเมจว่าเป็นคน "มีรสนิยมและมีสตางค์" ประมาณนั้นเลยสำนักงานใหญ่ของ Volks ชื่อว่า "Tenshi no Sato" อยู่ที่เกียวโต เป็นอาคาร 4 ชั้นท่ามกลางความงดงามของสวนแบบญี่ปุ่น ประกอบด้วยร้านค้า (ของตาย) พิพิธภัณฑ์ ร้านกาแฟ และซาลอนบริการปรับแต่ง BJD แต่ใช่ว่าเราจะเดินดุ่มๆ เข้าไปได้เลยนะคะ การไป Tenshi no Sato ต้องลงชื่อจองล่วงหน้าแบบวันต่อวันเลยค่ะ แน่นอนว่า BJD บางรุ่นก็มีจำหน่ายเฉพาะที่สาขาใหญ่นี้เท่านั้น คนจึงแวะเวียนไปเยี่ยมไม่ขาด
ร้านสาขาของ Volks มี 19 ร้านทั่วญี่ปุ่น ร้านเหล่านี้เรียกว่า "Tenshi no Sumika" จำหน่ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์สำหรับ BJD มากมาย เราสามารถแวะเข้าไปเลือกซื้อทุกอย่างได้ตามต้องการ ส่วนตุ๊กตารุ่นสั่งประกอบหรือ FCS (Full Choice System) จำหน่ายให้เฉพาะคนที่มีที่พำนักในญี่ปุ่นเท่านั้นเนื่องจากใช้เวลาประกอบ 1-2 เดือน ดังนั้นใครแวะไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วคิดว่าจะพก BJD ของ Volks กลับมาด้วยอาจจะทำไม่ได้นะคะ พรีเมียมของพรีเมียมจริงๆ นอกจากนั้นยังมีร้านใน LA สหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้นทางฝั่งอเมริกาเหนือจึงสั่งได้ไม่มีปัญหา
แล้วหากเราต้องการสั่ง BJD ของ Volk สักตัวเราต้องทำอย่างไรบ้าง คำตอบคือเราต้องมีเพื่อนเป็นใครซักคนอยู่ที่ญี่ปุ่นค่ะ หรือจ้างนายหน้าในญี่ปุ่นให้สั่งซึ่งค่าบริการในการสั่งอาจสูงถึงกว่า $200 (ประมาณ 7,000 บ.) เลยทีเดียว ก็ธรรมดาค่ะ เล่นต้องนั่งรถไฟไป เขียนออเดอร์ยุ่บยั่บ แล้วก็อำนวยความสะดวกในการจัดส่งให้ทุกอย่าง กว่าจะได้มาแสนลำบากแต่ก็ยังมีคนจำนวนมากอยากเล่นอยู่ค่ะ
ระบบการสั่ง BJD ของ Volks เรียกว่า FSC หรือ Full Choice System เป็นระบบที่เราสามารถเลือกส่วนประกอบต่างๆ ของ BJD เช่น ศีรษะ ผม ตา ขนาดหน้าอก ความยาวขา หู สีผิว หรือแม้แต่การแต่งหน้าได้ตามความต้องการของเรา ดังนั้น BJD แต่ละตัวจึงมีเอกลักษณ์และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลกที่เกิดจากการประกอบของเราเอง โดยคร่าวๆ FCS มีให้เลือก 3 ขนาดตามความสูงคือ Mini Superdollfie (MSD) สูง 42-43 cm., SD10 สูง 55-56 cm., และ SD13 สูง 57-62 cm. มีสีผิว 3 ระดับ และมีศีรษะให้เลือกเป็นภูเขา
งวดหน้ามาทำความรู้จักรุ่นต่างๆ ของ Volks พร้อมราคาที่อาจทำให้เราตัดใจจาก Volks ได้ในเสี้ยววินาที หรือไม่อย่างนั้นก็ตัดสินใจทุบกระปุกเอาเงินเก็บทั้งชีวิตมาใช้เลยค่ะ
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11236 มติชนรายวัน
โดย วินิทรา นวลละออง
ก่อนหน้านี้เคยเล่าให้ฟังเรื่อง Ball Joint Doll (BJD) หรือตุ๊กตาเรซิ่นซึ่งมีข้อต่อเป็นบอลล์อยู่ในเบ้าส่งผลให้สามารถขยับโพสท่าได้หลากหลายกว่าตุ๊กตาบาร์บี้ไปแล้วค่ะ และครั้งนี้จะมากล่าวถึงอีกครั้ง เพียงแต่จะกล่าวถึงเจ้ายุทธจักรของวงการ BJD อันดับหนึ่งในญี่ปุ่นและอาจจะเป็นอันดับหนึ่งในโลกด้วยค่ะ ชื่อของเขาคือ Volks
ก่อนจะทำความรู้จัก BJD ของบริษัทนี้ ก็ต้องทำความรู้จักสิ่งที่ทำให้คนทั่วไปเห็นแล้วอ้าปากเหวอเสียก่อนค่ะ ปกติเราจะคุ้นเคยกับตุ๊กตาที่เหมือนคนแบบนี้แค่บาร์บี้ซึ่งสูงไม่ถึงหนึ่งไม้บรรทัดใช่ไหมคะ แต่ BJD มีรุ่นที่สูงถึง 64 เซนติเมตรค่ะ! หมายถึงสองไม้บรรทัดเลยทีเดียว นอกจากความสูงปรี๊ดปร๊าดแล้ว ราคาก็ยังสูงปรี๊ดปร๊าดอย่างไม่น่าเชื่อค่ะ ตัวที่เห็นในภาพคือ Volks SD17 Hikaru Genji ซึ่งได้คอนเซ็ปท์มาจากวรรณกรรมอีโรติคคลาสสิคของญี่ปุ่น "ฮิคารุ เกนจิ" หนุ่มนักรักที่ให้อารมณ์คาสโนว่าสุดละเมียด เปิดขายแบบจำกัดจำนวนด้วยราคาเริ่มต้น 130,000 เยน (ประมาณ 46,000 บาท!!) ไม่น่าเชื่อว่าตุ๊กตาตัวเดียวราคาเกือบครึ่งแสนเข้าไปแล้วค่ะ!
ถอยกลับมาที่ Volks อีกครั้งค่ะ ลองมาดูกันดีกว่าว่าเขาทำอย่างไรจึงขายตุ๊กตาราคาแพงบ้าเลือดแบบนี้ได้เป็นเทน้ำเทท่า ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.angelden.net/ ค่ะ
Volks คือบริษัทผลิตและจำหน่าย BJD ซึ่งครองตลาดเกือบทั้งหมดในญี่ปุ่น ทั้งปั้นและออกแบบเองจนเป็นเอกลักษณ์ไม่มีใครเหมือน แต่สิ่งที่ทำให้ Volks เป็นผู้นำตลาด BJD ในญี่ปุ่นทั้งที่มี BJD จากเกาหลีและจีนเข้ามาตีตลาดด้วยราคาที่ถูกกว่ากันครึ่งหนึ่งและดีไซน์รูปร่างหน้าตาสวยกว่าคือ "ความภักดีของลูกค้า" ซึ่ง Volks หยิบยื่นความเหนือระดับให้เหล่าผู้รัก BJD เช่นเดียวกับเครื่องสำอางของญี่ปุ่นซึ่งให้ภาพลักษณ์เป็นแบรนด์ชั้นสูง เรียกว่าถ้าใครเดินถือ BJD ของ Volks ก็จะได้รับอิมเมจว่าเป็นคน "มีรสนิยมและมีสตางค์" ประมาณนั้นเลยสำนักงานใหญ่ของ Volks ชื่อว่า "Tenshi no Sato" อยู่ที่เกียวโต เป็นอาคาร 4 ชั้นท่ามกลางความงดงามของสวนแบบญี่ปุ่น ประกอบด้วยร้านค้า (ของตาย) พิพิธภัณฑ์ ร้านกาแฟ และซาลอนบริการปรับแต่ง BJD แต่ใช่ว่าเราจะเดินดุ่มๆ เข้าไปได้เลยนะคะ การไป Tenshi no Sato ต้องลงชื่อจองล่วงหน้าแบบวันต่อวันเลยค่ะ แน่นอนว่า BJD บางรุ่นก็มีจำหน่ายเฉพาะที่สาขาใหญ่นี้เท่านั้น คนจึงแวะเวียนไปเยี่ยมไม่ขาด
ร้านสาขาของ Volks มี 19 ร้านทั่วญี่ปุ่น ร้านเหล่านี้เรียกว่า "Tenshi no Sumika" จำหน่ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์สำหรับ BJD มากมาย เราสามารถแวะเข้าไปเลือกซื้อทุกอย่างได้ตามต้องการ ส่วนตุ๊กตารุ่นสั่งประกอบหรือ FCS (Full Choice System) จำหน่ายให้เฉพาะคนที่มีที่พำนักในญี่ปุ่นเท่านั้นเนื่องจากใช้เวลาประกอบ 1-2 เดือน ดังนั้นใครแวะไปเที่ยวญี่ปุ่นแล้วคิดว่าจะพก BJD ของ Volks กลับมาด้วยอาจจะทำไม่ได้นะคะ พรีเมียมของพรีเมียมจริงๆ นอกจากนั้นยังมีร้านใน LA สหรัฐอเมริกาด้วย ดังนั้นทางฝั่งอเมริกาเหนือจึงสั่งได้ไม่มีปัญหา
แล้วหากเราต้องการสั่ง BJD ของ Volk สักตัวเราต้องทำอย่างไรบ้าง คำตอบคือเราต้องมีเพื่อนเป็นใครซักคนอยู่ที่ญี่ปุ่นค่ะ หรือจ้างนายหน้าในญี่ปุ่นให้สั่งซึ่งค่าบริการในการสั่งอาจสูงถึงกว่า $200 (ประมาณ 7,000 บ.) เลยทีเดียว ก็ธรรมดาค่ะ เล่นต้องนั่งรถไฟไป เขียนออเดอร์ยุ่บยั่บ แล้วก็อำนวยความสะดวกในการจัดส่งให้ทุกอย่าง กว่าจะได้มาแสนลำบากแต่ก็ยังมีคนจำนวนมากอยากเล่นอยู่ค่ะ
ระบบการสั่ง BJD ของ Volks เรียกว่า FSC หรือ Full Choice System เป็นระบบที่เราสามารถเลือกส่วนประกอบต่างๆ ของ BJD เช่น ศีรษะ ผม ตา ขนาดหน้าอก ความยาวขา หู สีผิว หรือแม้แต่การแต่งหน้าได้ตามความต้องการของเรา ดังนั้น BJD แต่ละตัวจึงมีเอกลักษณ์และอาจจะเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งเดียวในโลกที่เกิดจากการประกอบของเราเอง โดยคร่าวๆ FCS มีให้เลือก 3 ขนาดตามความสูงคือ Mini Superdollfie (MSD) สูง 42-43 cm., SD10 สูง 55-56 cm., และ SD13 สูง 57-62 cm. มีสีผิว 3 ระดับ และมีศีรษะให้เลือกเป็นภูเขา
งวดหน้ามาทำความรู้จักรุ่นต่างๆ ของ Volks พร้อมราคาที่อาจทำให้เราตัดใจจาก Volks ได้ในเสี้ยววินาที หรือไม่อย่างนั้นก็ตัดสินใจทุบกระปุกเอาเงินเก็บทั้งชีวิตมาใช้เลยค่ะ
วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11236 มติชนรายวัน
07 ธันวาคม 2551
One Outs เกมนี้ไม่มีน้ำใจนักกีฬา
คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง
สำหรับหลายๆ ท่าน "กีฬา" ไม่ใช่แค่การแข่งขันในสนามเท่านั้นค่ะ เบื้องหลังของกีฬาคือความมุ่งมั่นและการฝึกซ้อมอย่างหนัก มีแต่แรงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องมีสมองด้วย เรียนรู้ที่จะเอาชนะตัวเองและคู่ต่อสู้ไปด้วยในเวลาเดียวกัน รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย และสุดท้ายคือรู้จักเล่นในกติกา นี่คือกีฬาอย่างแท้จริงค่ะ เนื่องจากความหมายส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงบวกทำให้บางอย่างเรียกกีฬาได้ไม่เต็มปากนัก เช่น กีฬาที่มีการพนันเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าจับเอานักกีฬาตัวจริงไปแข่งในเกมนอกกฎหมาย เป็นไปได้ว่าจะแพ้หมดรูปเลยค่ะเพราะเป้าหมายของคนอื่นไม่ใช่ชัยชนะหรือความภูมิใจ แต่เป็นเงินล้วนๆ แล้วถ้าเราจับเอานักพนันนอกกฎหมายมาเป็นนักกีฬาบ้างล่ะ เขาจะทำอย่างไรกับวงการกีฬาที่ขาวสะอาดนี้บ้าง
คำตอบอยู่ที่การ์ตูนเรื่องนี้ค่ะ One Outs การ์ตูนที่ให้มุมมองสวนทางกับการ์ตูนกีฬาหลายเรื่องซึ่งเต็มไปด้วยความฝันของวัยรุ่นและการพิสูจน์ตัวเอง แต่ One Outs กลับนำเสนอการใช้วิธี "หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง" หรือ "เอาโจรมาจับโจร" ของวงการเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่น
One Outs เริ่มต้นจากการพบกันของ "ฮิโรมิจิ โคจิมะ" นักเบสบอลอาชีพในทีม "ไลคานอส" ที่ตกต่ำถึงขีดสุดเนื่องจากเจ้าของทีมไม่สนใจผลแพ้ชนะ ขอเพียงแค่เขากอบโกยเงินทองจากทีมได้ จะให้ทีมแพ้จนตกกระดานก็ยังไม่ว่า กับ "โทอะ โอคุจิ" พิชเชอร์ (ผู้ขว้างลูกเบสบอล) ที่ไม่ได้เล่นกีฬาเบสบอล แต่เป็นนักพนันในเกมที่ชื่อ "One Out" เป็นเกมที่ให้นักพนันเข้ามาวางเงินเดิมพันกับพิชเชอร์แลกกับโอกาสตี 3 ครั้ง หากตีได้เข้าเขตแค่หนึ่งในสามครั้งก็ถือว่าชนะ แต่ถ้าตีไม่ได้เลยก็ต้องเสียเงินให้พิชเชอร์
โทอะคือเด็กหนุ่มที่ไม่เคยพ่ายแพ้ให้ใครเลยค่ะ เขาขว้างลูกด้วยความเร็วธรรมดาและไม่ได้มีเทคนิคหวือหวาอะไร แต่ราวกับเขาอ่านใจคนตีได้ ไม่ว่าใครจะตีเขาก็สามารถอ่านความคิดล้ำหน้าไปได้ขั้นหนึ่งเสมอ ทำให้แม้เขาจะขว้างลูกด้วยความเร็วไม่ได้สูงและไม่ได้ใช้เทคนิคแพรวพราว แถมยังขว้างเข้าตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ก็ยังไม่เคยมีใครเอาชนะโทอะได้เลย
ฮิโรมิจิท้าพนันกับโทอะด้วยเงินทองและอนาคตการเป็นนักเบสบอลอาชีพของเขาทั้งหมด แพ้หรือชนะต้องลองติดตามค่ะ ถ้าบอกคงมีคนโกรธแน่ๆ เพราะเรื่องนี้ลำดับเรื่องได้น่าติดตามมากชนิดที่จบตอนแล้วแทบลุกขึ้นมาเต้นบูชาขอให้ออกตอนต่อไปไวๆ แต่โดยสรุปคือโทอะก็ได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมทีมไลคานอส เขาไม่ได้ถูกตั้งความหวังให้ปราบเจ้าของทีมที่เห็นแก่ตัว แต่ความร้ายกาจของเจ้าของทีมดูจะเข้าตาโทอะ เขาจึงยื่นข้อเสนอให้กับเจ้าของทีมที่ไม่คิดจะจ่ายค่าตัวแม้แต่แดงเดียวให้เขาว่า...
"เขาไม่รับค่าตัวก็ได้ แต่มาพนันกัน ทุกครั้งที่เขาขว้างลูกแล้วทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามออก (out) ได้ เจ้าของทีมต้องจ่ายให้เขา 5 ล้านเยน แต่ในทางกลับกัน ถ้าฝ่ายตรงข้ามได้หนึ่งแต้ม เขาจะจ่ายให้เจ้าของทีม 50 ล้านเยน" หมายความว่าถ้าในเกมหนึ่ง โทอะทำให้ฝ่ายตรงข้าม out ได้ 10 คนแต่ทีมตัวเองเสีย 1 คะแนนก็จะเจ๊ากันค่ะ แต่แค่อีกฝ่ายหนึ่งได้อีก 1 คะแนน โทอะจะต้องเสีย 50 ล้านเยน เจ้าของผู้สนแต่ผลประโยชน์จึงตกลงแทบจะในทันทีปัญหาของโทอะคือเบสบอลไม่ใช่กีฬาที่เล่นคนเดียวแบบการขว้างลูกพนันเงินแบบที่เขาเคยเล่น ปัจจัยที่เหนือการควบคุมมีมากกว่าที่เขาคิดค่ะ ทั้งความสามารถของทีมตรงข้าม และความสามารถที่ด้อยกว่าที่คาดของทีมตัวเอง จากคนที่เคยเอาชนะได้ง่ายๆ ด้วยตัวคนเดียวจึงต้องเปลี่ยนแนวการเล่นเพื่อให้ทั้งทีมเอาชนะได้ไปพร้อมๆ กัน
One Outs ฉบับแอนิเมชั่นดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนชื่อเดียวกันโดย "ไคทานิ ชิโนบุ" (ผู้เขียน Liar Game) ซึ่งตีพิมพ์ใน Business Jump (เดาว่าเป็นการ์ตูนสำหรับวัยผู้ใหญ่หน่อย) ตั้งแต่ปี 1998-2006 และรวมเล่ม 19 เล่มจบ ไม่น่าจะเคยตีพิมพ์ในไทยนะคะเพราะไม่คุ้นเลย ส่วนแอนิเมชั่นก็ยังไม่มีจำหน่ายในไทยค่ะ คงต้องรอลุ้นต่อไป
เสน่ห์ของเรื่องนี้อยู่ที่ความเข้มข้น น่าติดตาม และเป็นการ์ตูนเบสบอลที่สู้กันด้วยไหวพริบมากกว่าฝีมือซึ่งไม่เคยมีการ์ตูนแนวนี้ปรากฏมาก่อนค่ะ เพียงแต่ข้อเสียคือเหมาะกับวัยผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
ก็แหม...พระเอกของเรื่องเป็นนักพนัน แถมตอนแข่งเบสบอลยังใช้วิชามารนอกตำราเสียเยอะ ถึงไม่ผิดกติกาแต่ก็ไม่ช่วยให้เกิดภาพสวยงามของเบสบอลในใจของเด็กเท่าไร เยาวชนที่ดูจึงโปรดใช้วิจารณญาณเสมอนะคะ
วันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11229 มติชนรายวัน
โดย วินิทรา นวลละออง
สำหรับหลายๆ ท่าน "กีฬา" ไม่ใช่แค่การแข่งขันในสนามเท่านั้นค่ะ เบื้องหลังของกีฬาคือความมุ่งมั่นและการฝึกซ้อมอย่างหนัก มีแต่แรงอย่างเดียวก็ไม่ได้ ต้องมีสมองด้วย เรียนรู้ที่จะเอาชนะตัวเองและคู่ต่อสู้ไปด้วยในเวลาเดียวกัน รู้แพ้รู้ชนะรู้อภัย และสุดท้ายคือรู้จักเล่นในกติกา นี่คือกีฬาอย่างแท้จริงค่ะ เนื่องจากความหมายส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงบวกทำให้บางอย่างเรียกกีฬาได้ไม่เต็มปากนัก เช่น กีฬาที่มีการพนันเป็นเป้าหมายหลัก ถ้าจับเอานักกีฬาตัวจริงไปแข่งในเกมนอกกฎหมาย เป็นไปได้ว่าจะแพ้หมดรูปเลยค่ะเพราะเป้าหมายของคนอื่นไม่ใช่ชัยชนะหรือความภูมิใจ แต่เป็นเงินล้วนๆ แล้วถ้าเราจับเอานักพนันนอกกฎหมายมาเป็นนักกีฬาบ้างล่ะ เขาจะทำอย่างไรกับวงการกีฬาที่ขาวสะอาดนี้บ้าง
คำตอบอยู่ที่การ์ตูนเรื่องนี้ค่ะ One Outs การ์ตูนที่ให้มุมมองสวนทางกับการ์ตูนกีฬาหลายเรื่องซึ่งเต็มไปด้วยความฝันของวัยรุ่นและการพิสูจน์ตัวเอง แต่ One Outs กลับนำเสนอการใช้วิธี "หนามยอกต้องเอาหนามบ่ง" หรือ "เอาโจรมาจับโจร" ของวงการเบสบอลอาชีพในญี่ปุ่น
One Outs เริ่มต้นจากการพบกันของ "ฮิโรมิจิ โคจิมะ" นักเบสบอลอาชีพในทีม "ไลคานอส" ที่ตกต่ำถึงขีดสุดเนื่องจากเจ้าของทีมไม่สนใจผลแพ้ชนะ ขอเพียงแค่เขากอบโกยเงินทองจากทีมได้ จะให้ทีมแพ้จนตกกระดานก็ยังไม่ว่า กับ "โทอะ โอคุจิ" พิชเชอร์ (ผู้ขว้างลูกเบสบอล) ที่ไม่ได้เล่นกีฬาเบสบอล แต่เป็นนักพนันในเกมที่ชื่อ "One Out" เป็นเกมที่ให้นักพนันเข้ามาวางเงินเดิมพันกับพิชเชอร์แลกกับโอกาสตี 3 ครั้ง หากตีได้เข้าเขตแค่หนึ่งในสามครั้งก็ถือว่าชนะ แต่ถ้าตีไม่ได้เลยก็ต้องเสียเงินให้พิชเชอร์
โทอะคือเด็กหนุ่มที่ไม่เคยพ่ายแพ้ให้ใครเลยค่ะ เขาขว้างลูกด้วยความเร็วธรรมดาและไม่ได้มีเทคนิคหวือหวาอะไร แต่ราวกับเขาอ่านใจคนตีได้ ไม่ว่าใครจะตีเขาก็สามารถอ่านความคิดล้ำหน้าไปได้ขั้นหนึ่งเสมอ ทำให้แม้เขาจะขว้างลูกด้วยความเร็วไม่ได้สูงและไม่ได้ใช้เทคนิคแพรวพราว แถมยังขว้างเข้าตำแหน่งเดิมทุกครั้ง ก็ยังไม่เคยมีใครเอาชนะโทอะได้เลย
ฮิโรมิจิท้าพนันกับโทอะด้วยเงินทองและอนาคตการเป็นนักเบสบอลอาชีพของเขาทั้งหมด แพ้หรือชนะต้องลองติดตามค่ะ ถ้าบอกคงมีคนโกรธแน่ๆ เพราะเรื่องนี้ลำดับเรื่องได้น่าติดตามมากชนิดที่จบตอนแล้วแทบลุกขึ้นมาเต้นบูชาขอให้ออกตอนต่อไปไวๆ แต่โดยสรุปคือโทอะก็ได้รับการชักชวนให้เข้าร่วมทีมไลคานอส เขาไม่ได้ถูกตั้งความหวังให้ปราบเจ้าของทีมที่เห็นแก่ตัว แต่ความร้ายกาจของเจ้าของทีมดูจะเข้าตาโทอะ เขาจึงยื่นข้อเสนอให้กับเจ้าของทีมที่ไม่คิดจะจ่ายค่าตัวแม้แต่แดงเดียวให้เขาว่า...
"เขาไม่รับค่าตัวก็ได้ แต่มาพนันกัน ทุกครั้งที่เขาขว้างลูกแล้วทำให้ผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามออก (out) ได้ เจ้าของทีมต้องจ่ายให้เขา 5 ล้านเยน แต่ในทางกลับกัน ถ้าฝ่ายตรงข้ามได้หนึ่งแต้ม เขาจะจ่ายให้เจ้าของทีม 50 ล้านเยน" หมายความว่าถ้าในเกมหนึ่ง โทอะทำให้ฝ่ายตรงข้าม out ได้ 10 คนแต่ทีมตัวเองเสีย 1 คะแนนก็จะเจ๊ากันค่ะ แต่แค่อีกฝ่ายหนึ่งได้อีก 1 คะแนน โทอะจะต้องเสีย 50 ล้านเยน เจ้าของผู้สนแต่ผลประโยชน์จึงตกลงแทบจะในทันทีปัญหาของโทอะคือเบสบอลไม่ใช่กีฬาที่เล่นคนเดียวแบบการขว้างลูกพนันเงินแบบที่เขาเคยเล่น ปัจจัยที่เหนือการควบคุมมีมากกว่าที่เขาคิดค่ะ ทั้งความสามารถของทีมตรงข้าม และความสามารถที่ด้อยกว่าที่คาดของทีมตัวเอง จากคนที่เคยเอาชนะได้ง่ายๆ ด้วยตัวคนเดียวจึงต้องเปลี่ยนแนวการเล่นเพื่อให้ทั้งทีมเอาชนะได้ไปพร้อมๆ กัน
One Outs ฉบับแอนิเมชั่นดัดแปลงจากหนังสือการ์ตูนชื่อเดียวกันโดย "ไคทานิ ชิโนบุ" (ผู้เขียน Liar Game) ซึ่งตีพิมพ์ใน Business Jump (เดาว่าเป็นการ์ตูนสำหรับวัยผู้ใหญ่หน่อย) ตั้งแต่ปี 1998-2006 และรวมเล่ม 19 เล่มจบ ไม่น่าจะเคยตีพิมพ์ในไทยนะคะเพราะไม่คุ้นเลย ส่วนแอนิเมชั่นก็ยังไม่มีจำหน่ายในไทยค่ะ คงต้องรอลุ้นต่อไป
เสน่ห์ของเรื่องนี้อยู่ที่ความเข้มข้น น่าติดตาม และเป็นการ์ตูนเบสบอลที่สู้กันด้วยไหวพริบมากกว่าฝีมือซึ่งไม่เคยมีการ์ตูนแนวนี้ปรากฏมาก่อนค่ะ เพียงแต่ข้อเสียคือเหมาะกับวัยผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
ก็แหม...พระเอกของเรื่องเป็นนักพนัน แถมตอนแข่งเบสบอลยังใช้วิชามารนอกตำราเสียเยอะ ถึงไม่ผิดกติกาแต่ก็ไม่ช่วยให้เกิดภาพสวยงามของเบสบอลในใจของเด็กเท่าไร เยาวชนที่ดูจึงโปรดใช้วิจารณญาณเสมอนะคะ
วันที่ 07 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11229 มติชนรายวัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)