22 มิถุนายน 2551

คำสาปฟาโรห์ฟอสซิลที่มีชีวิตจากยุคทองของการ์ตูนผู้หญิง


คอลัมน์ มหัศจรรย์การ์ตูน
โดย วินิทรา นวลละออง

สำหรับนักอ่านการ์ตูนรุ่นอายุสามทศวรรษขึ้นไปคงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ไม่ใช่ยุคทองของการ์ตูนผู้หญิงอีกต่อไปแล้วค่ะ จะว่าเป็นยุคทองของการ์ตูนผู้ชายก็ไม่เชิง แต่น่าจะเรียกว่าเป็นจุดสูงสุดของการ์ตูนที่ขาย "ตัวการ์ตูน" มากกว่าเน้นการสร้างเนื้อเรื่องให้ยิ่งใหญ่เป็นมหากาพย์ดังในยุคเซนต์เซย่าหรือดราก้อนบอลล์

และจากตลาดผู้หญิงและผู้ชายที่เริ่มควบรวมกันมากขึ้น สำนักพิมพ์หลายแห่งเริ่มสร้างการ์ตูนที่เหมาะกับตลาดทั้งสองเพศ (อาจรวมเพศที่สาม) ขึ้นมา ส่งผลให้การ์ตูนสำหรับเด็กผู้ชายเปิดตลาดให้เด็กผู้หญิงด้วยการจ้างนักเขียนการ์ตูนผู้หญิงมาออกแบบตัวละครมากขึ้น

ไม่น่าเชื่อว่าในกระแสพายุแห่งการดิ้นรนเอาตัวรอดของวงการการ์ตูน ยังมีการ์ตูนเรื่องหนึ่งที่เป็นตัวแทนของยุคสมัยอย่างชัดเจนลงต่อเนื่องมากว่า 30 ปี ไม่เคยเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์ของเนื้อเรื่องและลายเส้น ที่สำคัญคือยังได้รับความนิยมอยู่พอสมควรในเมืองไทย"คำสาปฟาโรห์" คือการ์ตูนที่นักอ่านการ์ตูนทุกคนต้องเคยได้ยินชื่อค่ะเดือนตุลาคมปี 1976 (สามสิบกว่าปีก่อน)

แมกกาซีนปรินเซสได้ตีพิมพ์การ์ตูนแนวย้อนยุคเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับสาวน้อยวัย 16 ปีลูกเศรษฐีอเมริกัน (สมัยก่อนแม้ญี่ปุ่นจะแพ้สงครามแต่ก็มองอย่างชื่นชมว่าอเมริกาเป็นชาติแห่งความทันสมัย) นามว่า "แครอล" เธอสนใจวิชาโบราณคดีมากโดยเฉพาะอียิปต์วิทยา ตอนที่เธอพักอยู่ในอียิปต์

หญิงสาวคนหนึ่งก็ปรากฏตัวขึ้นนามว่า "ไอซิส" ด้วยความสวยและผู้ดีทำให้คนรอบข้างหลงรักเธอโดยไม่รู้เลยว่าเธอคือมัมมี่ของเจ้าหญิงอียิปต์คืนชีพเพื่อลงโทษผู้บุกรุกพีระมิด ไอซิสพาแครอลย้อนประวัติศาสตร์ไปในยุคที่เธอยังมีชีวิตอยู่ และเรื่องราวของหญิงสาวผมทองเฉลียวฉลาดที่จำต้องหลุดไปอยู่ในอียิปต์โบราณ กลายเป็นราชินีแห่งลุ่มน้ำไนล์และตกเป็นเป้าของบรรดากษัตริย์และเจ้าชายในประเทศแถบนั้นทุกคนจึงเริ่มขึ้นโดยส่วนตัวแทบจะลืมเรื่องนี้ไปแล้วค่ะ

ตอนต้นเรื่องที่อ่านสมัยเป็นเด็กทั้งตื่นเต้นเร้าใจ ตอนนั้นถึงขนาดใฝ่ฝันว่าอยากไปอียิปต์ พยายามอ่านหนังสือเกี่ยวกับอียิปต์ และคิดว่าแครอลเป็นนางเอกที่แจ่มที่สุดในประวัติศาสตร์เวลาผ่านไปสามสิบปี...

อะไรก็เปลี่ยนได้ค่ะคำสาปฟาโรห์เล่มล่าสุดที่วางแผงในไทยไม่นานนี้ (ภาค 5 เล่ม 14) คือเล่มที่ 52 ของญี่ปุ่นค่ะ (ปกใช่และหวังว่าเนื้อในก็น่าจะใช่ค่ะ) ถ้าถามว่าเนื้อเรื่องไปถึงไหนแล้ว รู้สึกว่าแครอลจะหนีจากวิบากกรรมของคนที่หวังจะจับเธอ แล้วเมมฟิส (ฟาโรห์พระเอก) ก็ตามหาเธอมา...

หลายเล่มแล้วเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วเป็นวันครบรอบ 30 ปีการตีพิมพ์เรื่องนี้ค่ะ นิตยสารปรินเซสจึงจัดพิมพ์ฉบับปรับปรุงใหม่ขึ้นโดยแก้ไขรายละเอียดบางประการ เช่น ในเรื่องเดิมกล่าวถึง "ปัจจุบัน" ว่าหมายถึงศตวรรษที่ 20 แต่ได้ปรับปรุงเป็นศตวรรษที่ 21 แทนเพราะไม่คิดว่าจะยาวข้ามมิลเลเนียมมาได้ขนาดนี้

ข่าวลือซุบซิบสำหรับแฟนๆ ที่เริ่มทนรอตอนจบไม่ไหวมีมากมายค่ะ ตั้งแต่คู่หมั้นของเธอ (จิมมี่) หายไปไหน พี่ชายของเธอที่มีใบหน้าละม้ายคล้ายเมมฟิสสุดท้ายจะเป็นเมมฟิสกลับชาติมาเกิดหรือเปล่า หรือตอนเศรษฐีอาหรับเก็บเธอได้จากทะเลเมดิเตอเรเนียนช่วงที่เธอเพิ่งแท้ง เขาจะเป็นรักแท้หรือไม่ (สรุปว่าไม่) เนื้อเรื่องตอนนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นไคลแมกซ์ซึ่งน่าจะพลิกเนื้อเรื่องไปสู่จุดจบได้...

แต่สุดท้ายก็วนกลับมาแบบเดิมอยู่ดีปัจจุบันนี้ "คำสาปฟาโรห์" ไม่ต่างอะไรจากฟอสซิลที่มีชีวิตแห่งยุคทองของโชโจคอมมิค (การ์ตูนผู้หญิง) ค่ะ คือทั้งศักดิ์สิทธิ์และเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ ไม่ต้องกลัวว่ายาวจัดแล้วจะอ่านไม่รู้เรื่องนะคะ เนื้อเรื่องหลังจากกลางเรื่องเป็นต้นมาเริ่มไม่ไปไหนจนแทบเรียกว่าเป็น never-ending story ที่ผู้เขียนตายก่อนก็ไม่มีใครว่า

ตอนจบไม่จำเป็นอีกแล้วเพราะเดาว่าคนเขียนคงกอดต้นฉบับแล้วจากไปอย่างสงบทิ้งให้เรื่องนี้เป็นตำนานไร้จุดจบไปตราบนานเท่านานค่ะสำหรับเด็กรุ่นใหม่ที่อยากสัมผัสประวัติศาสตร์การ์ตูนยุคก่อนเราเกิด เป็นโอกาสดีที่จะได้เห็นแนวคิดของการ์ตูนรักๆ ใคร่ๆ ยุคโบราณที่แทบไม่มีเรื่องบนเตียงมาเกี่ยวข้องค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น: